โรมันคาทอลิก
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาคริสต์ |
---|
สถานีย่อย |
พระศาสนจักรคาทอลิก (อังกฤษ: Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีศาสนิกชนกว่า 1.3 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2017[1] เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดที่ยังดำเนินกิจการอยู่[2] และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตก[3] พระสันตะปาปาทรงเป็นประมุขและปกครองศาสนจักรนี้ผ่านสันตะสำนัก ในศาสนจักรโรมันคาทอลิกประกอบด้วยคริสตจักรละตินและคริสตจักรคาทอลิกตะวันออก
ชาวคาทอลิกเชื่อว่าพระเยซูมีพระมหาบัญชาตั้งศาสนจักรขึ้นให้เป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบมาจากอัครทูต[4][5] โดยมีมุขนายกสืบทอดหน้าที่จากอัครทูต และพระสันตะปาปาสืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร ซึ่งพระเยซูทรงยกเป็นเอกในบรรดาอัครทูต[6]
ศาสนจักรคาทอลิกให้ความสำคัญกับศีลมหาสนิทที่สุดในบรรดาศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด และฉลองศีลนี้ในพิธีมิสซา[7] โดยเชื่อว่าแผ่นปังและเหล้าองุ่นที่บาทหลวงเสกในพิธีนี้จะเปลี่ยนสารเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซู และมีหลักคำสอนให้เคารพพระนางมารีย์พรหมจารีในฐานะที่เป็นพระมารดาพระเจ้าและราชินีแห่งสวรรค์[8] และเคารพบรรดานักบุญต่างๆ ในฐานะที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตความเชื่อ นอกจากนี้ยังเชื่อในพระเมตตา การชำระให้บริสุทธิ์โดยความเชื่อ การประกาศพระวรสาร และทำงานเพื่อสังคม ศาสนจักรคาทอลิกจึงเป็นองค์กรเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จัดการศึกษาและบริการสุขภาพ[9]
ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า "คริสตัง" ซึ่งมีที่มาจากภาษาโปรตุเกส คำว่า Cristão โดยศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิคในไทยนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
แผนภาพ
[แก้]- (ไม่ได้แสดงนิกายที่มิใช่ไนซีน, ไม่ถือตรีเอกานุภาพ, และนิกายฟื้นฟูบางนิกาย)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Presentation of the Pontifical Yearbook 2019 and the Annuarium Statisticum Ecclesiae 2017". Holy See Press Office. 6 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2019. สืบค้นเมื่อ 6 March 2019.
- ↑ Mark A. Noll. The New Shape of World Christianity (Downers Grove, IL: IVP Academic, 2009), 191.
- ↑ O'Collins, p. v (preface). Woods, T., How the Catholic Church Build Western Civilization.
- ↑ "Vatican congregation reaffirms truth, oneness of Catholic Church". Catholic News Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2007. สืบค้นเมื่อ 17 March 2012.
- ↑ Bokenkotter, Thomas (2004). A Concise History of the Catholic Church. New York: Doubleday. p. 7. ISBN 978-0-307-42348-1.
- ↑ Holy Bible: Matthew 16:19
- ↑ CCC, 1322–1327, Vatican.va: "the Eucharist is the sum and summary of our faith"
- ↑ "The Four Marian Dogmas". Catholic News Agency. สืบค้นเมื่อ 25 March 2017.
- ↑ Agnew, John (12 February 2010). "Deus Vult: The Geopolitics of Catholic Church". Geopolitics. 15 (1): 39–61. doi:10.1080/14650040903420388.