ข้ามไปเนื้อหา

Nepenthes beccariana

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nepenthes beccariana
หม้อบนที่ใกล้เคียงกับต้นไม้ที่ถูกจัดจำแนกเป็น Nepenthes beccariana
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  beccariana
ชื่อทวินาม
Nepenthes beccariana
Macfarl. (1908)

Nepenthes beccariana ( ได้ชื่อตามโอโดอาร์โด เบคคารี (En:Odoardo Beccari), นักพฤกษศาสตร์ ) เป็นพืชเขตร้อนชื้นในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง มันถูกจัดจำแนกโดยจอห์น มิวร์เฮด แมกฟาร์แลน (En:John Muirhead Macfarlane) ในปี ค.ศ. 1908 จากตัวอย่างที่เก็บมาจากเกาะเนียส์ (Nias) ที่ทอดตัวยาว 120 กิโลเมตรนอกชายฝั่งของเกาะสุมาตรา ใกล้กับเมืองซิโบลกา (Sibolga) มันเป็นญาติใกล้ชิดกับ N. longifolia และ N. sumatrana และเป็นไปได้ที่ N. longifolia อาจเป็นชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกของหน่วยอนุกรมวิธานนี้[1]

N. beccariana ไม่มีการจัดจำแนกทั้งรูปแบบและความหลากหลาย

ประวัติทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ตัวอย่างต้นแบบของ N. beccariana ถูกเก็บได้โดยนักสำรวจชาวอิตาลีที่ชื่อเอลิโอ มอดิลยานี (En:Elio Modigliani) ระหว่างปี ค.ศ 1886 ในการสำรวจเกาะเนียส์[2][I] ซึ่งห่างจากเมืองท่าซิโบลกาบนเกาะสุมาตราประมาณ 120 กม. ตัวอย่างถูกตั้งชื่อว่า E.Modigliani s.n. และเป็นตัวอย่างรหัส FI-HB 7485 ที่เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ในฟีเรนเซ ประเทศอิตาลี[3] ตัวอย่างต้นแบบประกอบด้วยใบสามใบและหม้อสามหม้อ (หม้อล่างสองหม้อ หม้อบนหนึ่งหม้อ)และอยู่ในสภาพเสียหายโดยใบหลุดออกมาจากลำต้น ทำให้เราไม่รู้ว่าส่วนเชื่อมต่อเป็นอย่างไร[1]

N. beccariana ถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการโดยจอห์น มิวร์เฮด แมกฟาร์แลนในเอกสารของเขาในปี ค.ศ. 1908[4] และถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่โอโดอาร์โด เบคคารี นักธรรมชาติวิทยาชาวอิตาลี ในรายละเอียดที่บรรยายโดยแมกฟาร์แลนมีภาพร่างของ N. beccariana ที่แสดงแผ่นใบ, หม้อล่าง และหม้อบน รวมอยู่ด้วย[1]

ยี่สิบปีต่อมา บี.เอช. แดนเซอร์ (B. H. Danser) ทำการพ้องหม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดกับ N. mirabilis ในเอกสารสัมมนา "The Nepenthaceae of the Netherlands Indies (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์)" ของเขา และได้สนใจสถานะทางอนุกรมวิธานของ N. beccariana แดนเซอร์เขียนไว้ว่า:[5][5]

N. tubulosa และ N. Beccariana ของแมกฟาร์แลนแสดงความแตกต่างที่สำคัญไม่เหมือนกับ N. mirabilis ทั่วๆไป กระนั้นฉันก็ยังคิดว่ามันเป็นการผันแปรที่สุดโต่งของ N. mirabilis [...] N. Beccariana ต่างจาก N. mirabilis แค่เพียงรูปทรงของหม้อเท่านั้น แต่ฉันก็ยังไม่ได้เห็นตัวอย่างต้นแบบที่เก็บมาจากเกาะเนียส์ แต่ในหอพรรณไม้แห่งโบกอร์มีต้นไม้ที่สอดคล้องกันทั้งหมดจากที่ตั้งใกล้เคียงเกาะซิเบรุต (Siberut) ซึ่งต้นไม้นั้นคือ N. mirabilis อย่างไม่ต้องสงสัย ที่ลักษณะพิเศษคือหม้อบนมีทรวดทรงและปีกของหม้อล่างเป็นรูปแบบทั่วไป [...] N. tubulosa, N. Beccariana และ N. Rowanae แสดงถึงการผันแปรรูปทรงที่สุดโต่งของ N. mirabilis.


อย่างไรก็ตามแดนเซอร์ก็ไม่เคยเห็นตัวอย่างต้นแบบของ N. beccariana เลย การผนวกรวมเข้ากับ N. mirabilis ของเขาอยู่บนพื้นฐานของวัตถุในหอพรรณไม้เท่านั้น[1] ในปี ค.ศ. 1997 เอกสารเกี่ยวกับวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงของ แมตทิว จิบบ์ (Matthew Jebb) และ มาร์ติน ชีก (Martin Cheek) จัดให้ N. beccariana เป็นชื่อพ้องของ N. mirabilis แต่ไม่มีการพิจารณาตัวอย่างต้นแบบเช่นเดียวกัน[6]

ในปี ค.ศ. 2000 เจน สเชลาเลอร์ (Jan Schlauer) และ ซี. นีปิ (C. Nepi) พิจารณาตัวอย่างต้นแบบของ N. beccariana และหมายเหตุถึงความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง N. beccariana และ N. mirabilis เป็นการแสดงถึงว่ามันเป็นชนิดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน[7] ในหนังสือ Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งสุมาตราและเพนนิซูล่า มาเลเซีย) ชาร์ลส์ คลาร์ก (Charles Clarke) เห็นด้วยที่ N. beccariana แตกต่างจาก N. mirabilis และ N. sumatrana แต่หมายเหตุไว้ว่าถ้า N. beccariana เป็นชนิดเดียวกับ N. longifolia จะทำให้ N. longifolia กลายเป็นชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกของ N. beccariana[1]

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

[แก้]

ลำต้นของ N. beccariana เกลี้ยง กว้าง 10 ถึง 12 มม.[4]

หม้อล่างของ
N. cf. beccariana ที่อยู่ที่เดียวกัน กับ N. ampullaria และ N. gracilis

ใบคล้ายแผ่นหนัง มีก้านใบ แผ่นใบรูปรีใบหอกถึงรูปไข่กลับ ยาว 40 ซม.กว้าง 9 ซม. ก้านใบยาว 7 ถึง 10 ซม.และมีปีก กึ่งหุ้มลำต้นด้วยปีกบางๆ สายดิ่งยาว 25 ถึง 35 ซม.[4]

หม้อใบกระจุกและหม้อล่างยาว 18 ซม.กว้าง 5 ซม. ฝาปิดรูปหัวใจกึ่งไข่ยาว 7 ซม.กว้าง 5 ซม. เดือยเป็นรูปทรงกระบองรูปเส้นด้ายยาว 15 มม.อยู่ตรงฐานของฝา[4]

หม้อบนทรงกระบอกใหญ่กว่าหม้อล่าง สูง 30 ซม.กว้าง 6 ซม.[4]

ดอกและผลไม่มีข้อมูล[4]

ไม่มีการจัดจำแนกทั้งรูปแบบและความหลากหลายของ N. beccariana ถูกจัดจำแนกไว้

นิเวชวิทยา

[แก้]
ต้นใบกระจุกขนาดใหญ่ของ N. cf. beccariana ที่เติบโตในถิ่นอาศัย (ซ้าย) และหม้อบนของลูกผสมทางธรรมชาติที่สันนิษฐานว่าผสมกับ N. sumatrana (ขวา) ต้นใบกระจุกขนาดใหญ่ของ N. cf. beccariana ที่เติบโตในถิ่นอาศัย (ซ้าย) และหม้อบนของลูกผสมทางธรรมชาติที่สันนิษฐานว่าผสมกับ N. sumatrana (ขวา)
ต้นใบกระจุกขนาดใหญ่ของ N. cf. beccariana ที่เติบโตในถิ่นอาศัย (ซ้าย) และหม้อบนของลูกผสมทางธรรมชาติที่สันนิษฐานว่าผสมกับ N. sumatrana (ขวา)

เป็นที่รู้กันว่า N. beccariana มีถิ่นอาศัยที่แน่ใจจากที่ตั้งแบบฉบับบนเกาะเนียส์เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ๆตัวอย่างต้นแบบถูกเก็บมา

ต้นไม้ที่คล้ายกับ N. beccariana และอาจเป็นชนิดเดียวกันพบเติบโตริมถนนจากเมืองซิโบลกาถึงทารุทัง (Tarutung) ในสุมาตราเหนือ[1] หม้อข้าวหม้อแกงลิงนี้อยู่ที่เดียวกันกับ N. ampullaria, N. gracilis, N. rafflesiana, N. reinwardtiana, และ N. tobaica[1]

สถานะการอนุรักษ์ของ N. beccariana ยังไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการและไม่มีชื่อในบัญชีแดงของ IUCN 2006[8]

ญาติใกล้ชิด

[แก้]

N. beccariana เป็นญาติใกล้ชิดกับ N. longifolia และ N. sumatrana นอกจากนี้มันอาจเป็นชนิดเดียวกันกับ N. longifolia[1][7] ขอบเขตของความหลากหลายใน N. beccariana และ N. longifolia ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดทำให้ยากที่จะกำหนดขอบเขต การเฝ้าดู N. beccariana ในที่ตั้งแบบฉบับเป็นที่ต้องการเพื่อแก้ปัญหาความสับสนนี้[1]

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีลักษณะบางประการที่เหมือนกันของ N. sumatrana และ N. beccariana แต่มันก็แยกจากกันได้ง่าย N. sumatrana มีหม้อบนเป็นรูปกรวยมีเพอริสโตมส่วนหน้ายกขึ้น (N. beccariana มีรูปทรงกระบอก) ในหม้อล่างคล้ายรูปไข่ของ N. sumatrana มีฝารูปวงกลม ตรงข้ามกับฝารูปไข่ของ N. beccariana[1]

หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ยังไม่ระบุบชนิด (N. cf. beccariana) ที่เติบโตริมถนนจากเมืองซิโบลกาถึงทารุทังนั้นคล้ายกับ N. longifolia แต่ผิดแบบไปจากชนิดนี้ มันแตกต่างไปจากแบบต้นแบบของ N. longifolia ในส่วนก้านใบตรงไม่เป็นครีบในส่วนของปีกเหนือปล้องและขนขอบใบร่วงง่าย ถิ่นอาศัยของมันก็ต่างกันโดยหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ยังไม่ระบุบชนิดขึ้นท่ามกลางพุ่มไม้หนาแน่นในที่เปิดโล่ง ขณะที่ N. longifolia พบในป่าทึบ[1]

หม้อบนของ N. cf. beccariana (ซ้าย), N. longifolia (กลาง), และ N. sumatrana (ขวา)

ลูกผสมทางธรรมชาติ

[แก้]

เป็นลูกผสมทางธรรมชาติที่มีการสันนิษฐานไว้

หมายเหตุ

[แก้]
  • I.^ มอดิลยานีอธิบายรายละเอียดการเดินทางไปเกาะเนียส์ของเขาลงในหนังสือและบทความที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 1886 ถึง 1890[9][10][11][12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  2. van Steenis-Kruseman, M.J., et al. 2006. Cyclopaedia of Malesian Collectors: Elio Modigliani. Nationaal Herbarium Nederland.
  3. Schlauer, J. 2006. Nepenthes beccariana เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Macfarlane, J.M. 1908. Nepenthaceae. In: A. Engler. Das Pflanzenreich IV, III, Heft 36: 1–91.
  5. 5.0 5.1 Danser, B.H. 1928. The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9(3–4): 249–438.
  6. Jebb, M.H.P. & M.R. Cheek 1997. A Skeletal Revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea 42(1): 1–106.
  7. 7.0 7.1 Schlauer, J. & C. Nepi 2000. Notes on Nepenthes (Nepenthaceae). II. Lectotypification of names based on material represented in the Herbarium Beccarianum. Webbia 55: 1–5.
  8. Nepenthes. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 9 May 2008.
  9. Modigliani E. 1886. Escursione nell'isola Nias (a ouest di Sumatra). Estratto dal Bolletino della Società Geografica Italiana, October 1886.
  10. Modigliani E. 1887. Il cota rajia e l'isola di Nias. Estratto dal Bolletino della Società Geografica Italiana, January 1887.
  11. Modigliani E. 1887. L'isola di Nias note geografiche. Presso la Societ àGeografica Italiana, Roma.
  12. Modigliani E. 1890. Un viaggio a Nias. Fratelli Treves Editori, Milano.