จับ
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *capᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຈັບ (จับ), ภาษาคำเมือง ᨧᩢ᩠ᨷ (จับ), ภาษาเขิน ᨧᩢ᩠ᨷ (จับ), ภาษาไทใหญ่ ၸပ်း (จั๊ป) ,ภาษาจ้วง caep (ฉับ), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง zaep (จับ)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | จับ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | jàp |
ราชบัณฑิตยสภา | chap | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /t͡ɕap̚˨˩/(สัมผัส) |
คำกริยา
[แก้ไข]จับ (คำอาการนาม การจับ)
- อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้
- เกาะ
- นกจับคอน
- ติด
- เขม่าจับก้นหม้อ
- กินหรือกลืน ในความว่า คราสจับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์
- เริ่ม
- จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป
- เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี
- จับผู้ร้าย
- (กฎหมาย) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า
- กิริยาที่ทำขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน
คำลักษณนาม
[แก้ไข]จับ
- เรียกขนมจีนว่า จับ หรือ หัว
- ขนมจีน 5 จับ
ภาษาญัฮกุร
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]- สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /cap/
คำกริยา
[แก้ไข]จับ
หมวดหมู่:
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทดั้งเดิม
- สัมผัส:ภาษาไทย/ap̚
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 1 พยางค์
- คำหลักภาษาไทย
- คำกริยาภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้
- th:กฎหมาย
- คำลักษณนามภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาญัฮกุรที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- คำหลักภาษาญัฮกุร
- คำกริยาภาษาญัฮกุร