Ё
Yo | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
อักษรซีริลลิก | ||||||
А | Б | В | Г | Ґ | Ѓ | Д |
Ђ | Е | Ѐ | Ё | Є | Ж | З |
Ѕ | И | Ѝ | І | Ї | Й | Ј |
К | Л | Љ | М | Н | Њ | О |
П | Р | С | Т | Ћ | Ќ | У |
Ў | Ф | Х | Ц | Ч | Џ | Ш |
Щ | Ъ | Ы | Ь | Э | Ю | Я |
ไม่ใช่กลุ่มภาษาสลาฟ | ||||||
Ӑ | Ӓ | Ә | Ӛ | Ӕ | Ғ | Ҕ |
Ӻ | Ӷ | Ԁ | Ԃ | Ӗ | Ӂ | Җ |
Ӝ | Ԅ | Ҙ | Ӟ | Ԑ | Ӡ | Ԇ |
Ӣ | Ҋ | Ӥ | Қ | Ӄ | Ҡ | Ҟ |
Ҝ | Ԟ | Ԛ | Ӆ | Ԓ | Ԡ | Ԉ |
Ԕ | Ӎ | Ӊ | Ң | Ӈ | Ҥ | Ԣ |
Ԋ | Ӧ | Ө | Ӫ | Ҩ | Ҧ | Ҏ |
Ԗ | Ҫ | Ԍ | Ҭ | Ԏ | Ӯ | Ӱ |
Ӳ | Ү | Ұ | Ҳ | Ӽ | Ӿ | Һ |
Ҵ | Ҷ | Ӵ | Ӌ | Ҹ | Ҽ | Ҿ |
Ӹ | Ҍ | Ӭ | Ԙ | Ԝ | Ӏ | |
อักษรซีริลลิกโบราณ | ||||||
Ҁ | Ѻ | Ѹ | Ѡ | Ѿ | Ѣ | Ꙓ |
Ꙗ | Ѥ | Ѧ | Ѫ | Ѩ | Ѭ | Ѯ |
Ѱ | Ѳ | Ѵ | Ѷ | Ꙟ |
Yo (Ё, ё) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก และเป็นอักษรตัวที่ 7 ของภาษารัสเซีย อักษรนี้ประดิษฐ์ขึ้นใน พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) โดยนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวรัสเซีย นิโคไล มิไฮโลวิช คารามซิน (Nikolai Mikhailovich Karamzin) เพื่อลดความสับสนระหว่างการใช้ Е กับ О สำหรับแทนเสียงสระ /o/ ที่ตามหลังพยัญชนะซึ่งถูกอ่านโดยเลื่อนขึ้นไปทางเพดานแข็ง อักษรนี้ใช้ในภาษารัสเซียและภาษาเบลารุส และใช้น้อยครั้งในกลุ่มภาษาสลาวิกอื่นๆ
โดยปกติแล้วอักษร Ё จะออกเสียงเป็น /jo, ʲo/ (โย) แต่เมื่อตามหลังพยัญชนะเสียงเสียดแทรก ฐานปุ่มเหงือก ได้แก่ Ж, Ч, Ш, และ Щ จะออกเสียงเป็น /o/ (โอ) ธรรมดา นอกจากนั้นพยางค์ที่มีอักษรนี้อยู่จะเป็นเสียงเน้นหนักเสมอ (stress)
ลักษณะของ Yo นั้นสามารถระบุได้ว่าเอามาจาก Ye ซึ่งเหมือนอักษรละติน E เว้นแต่ด้านบนจะมีเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นจุดสองจุดเรียกว่า umlaut หรือ diaeresis ซึ่งไม่มีที่ใช้ทั่วไปในอักษรอื่นของภาษารัสเซีย เครื่องหมายนี้ถูกใช้เพื่อให้เกิดความแตกต่างกับ Ye เท่านั้น อักษร Ё ได้นำไปใช้ในงานเขียนครั้งแรกเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ก็ไม่ได้ใช้ให้เป็นมาตรฐานจนถึง พ.ศ. 2483-2492 (ค.ศ. 1940-1949) และยังมีคำทับศัพท์มากมายที่ใช้ ЙО แทนอักษร Ё
แม้ว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อักษร Yo ที่ใช้กันอย่างทั่วไปในงานพิมพ์ ก็ถูกเปลี่ยนไปใช้อักษร Ye เพื่อให้ตัวหนังสือกลมกลืนไปด้วยกัน และปริบทจะเป็นตัวบ่งบอกให้ผู้อ่านเองว่าควรจะออกเสียงอย่างไร แต่การใช้อักษรนี้ยังต้องจำเป็นต้องใช้ในการจัดทำพจนานุกรม หนังสือเรียน หรือตำราสำหรับชาวต่างประเทศ นักประพันธ์และนักวารสารศาสตร์บางท่าน อย่างเช่น อะเลคซันเดอร์ ซอลเจนิซืยน (Aleksandr Solzhenitsyn) หรือ ลีเตราตูร์นายากาเซตา (Literaturnaya Gazeta) ได้จัดพิมพ์หนังสือต่างๆ ด้วยอักษร Yo เสมอ
และความเป็นจริงในการแทนอักษร Yo ด้วยอักษร Ye นั้น มักจะทำให้เกิดความสับสนให้กับผู้ที่ไม่ใช่ชาวรัสเซีย ซึ่งจะเกิดความยุ่งยากในการถ่ายทอดอักษรจากภาษารัสเซีย ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งคือนามสกุลของชาวรัสเซียที่มักจะลงท้ายด้วย -ев (-ev) และ -ёв (-ov) อย่างผู้นำสองท่านที่ชื่อว่า ฮรูชอฟ (Khrushchev) กับ กอร์บาชอฟ (Gorbachev) ซึ่งนามสกุลของท่านนั้นลงท้ายด้วย -ёв และควรจะถ่ายอักษรด้วย -ov
สำหรับภาษาเบลารุส ชาวเบลารุสเห็นว่าการแทนอักษร Yo ด้วยอักษร Ye นั้นไม่เหมาะสม จึงยังคงใช้อักษรนี้เป็นปรกติ
การใช้ในภาษาอื่น
[แก้]Yo เป็นอักษรตัวที่ 7 ของภาษาเบลารุส และอักษรตัวที่ 9 ของภาษารูซิน ในภาษาเบลารุสและภาษารูซิน Ye และ Yo เป็นอักษรคนละตัวกัน และใช้แทนกันไม่ได้
ตำแหน่งอักขระ
[แก้]ชุดอักขระ | อักษร | ฐานสิบ | ฐานสิบหก |
---|---|---|---|
ยูนิโคด | ตัวใหญ่ | 1025 | U+0401 |
ตัวเล็ก | 1105 | U+0451 | |
ISO 8859-5 | ตัวใหญ่ | 161 | 0xA1 |
ตัวเล็ก | 241 | 0xF1 | |
KOI8 | ตัวใหญ่ | 184 | 0xB8 |
ตัวเล็ก | 168 | 0xA8 | |
Windows-1251 | ตัวใหญ่ | 168 | 0xA8 |
ตัวเล็ก | 184 | 0xB8 |
อ้างอิง
[แก้]- อักษรซีริลลิก จากยูนิโค้ด