ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโยเม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิโยเม
用明天皇
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยามาโตะ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์3 ตุลาคม ค.ศ. 585 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 587
ก่อนหน้าบิดัตสึ
ถัดไปซูชุง
ประสูติ12 ตุลาคม ค.ศ. 540
สวรรคต21 พฤษภาคม ค.ศ. 587(587-05-21) (46 ปี)
ฝังพระศพโคจิ โนะ ชินางะ โนะ ฮาระ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 河内磯長原陵โรมาจิKōchi no Shinaga no hara no misasagi; โอซากะ)
คู่อภิเษกอานาโฮเบะ โนะ ฮาชิฮิโตะ
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
เจ้าชายโชโตกุ
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิโยเม (用明天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ทาจิบานาโนโตโยฮิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (橘豊日天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิคิมเม
พระราชมารดาโซงะ โนะ คิตาชิฮิเมะ
ศาสนาชินโต

จักรพรรดิโยเม (ญี่ปุ่น: 用明天皇โรมาจิYōmei-tennō; 12 ตุลาคม ค.ศ. 540 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 587) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 31[1] ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]

รัชสมัยของโยเมอยู่ในช่วง ค.ศ. 585 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 587[3]

เรื่องราวตามธรรมเนียม

[แก้]

พระราชพงศาวลี

[แก้]

จักรพรรดิโยเมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิคิมเม และพระราชชนนีคือจักรพรรดินีฮิโรฮิเมะ ธิดาของโซงะ โนะ อินาเมะ[4]

ใน ค.ศ. 586 จักรพรรดิโยเมอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงอานาโฮเบะ โนะ ฮาชิฮิโตะ ผู้เป็นพระกนิษฐภคินี (ญี่ปุ่น: 穴穂部間人皇女โรมาจิAnahobe no Hashihito no Himemikoทับศัพท์: อานาโฮเบะ โนะ ฮาชิฮิโตะ โนะ ฮิเมมิโกะ) ซึ่งพระชนนีคือธิดาอีกคนของอินาเมะนามว่า โซงะ โนะ โออาเนะ ฮิเมะ ผู้เป็นพระมเหสี เจ้าหญิงฮาชิฮิโตะ โนะ อานาโฮเบะให้กำเนิดพระราชบุตร 4 พระองค์

จักรพรรดินี (โคโง): เจ้าหญิงฮาชิฮิโตะ โนะ อานาโฮเบะ (ญี่ปุ่น: 穴穂部間人皇女 สวรรคต ค.ศ. 622) พระราชธิดาในจักรพรรดิคิมเม

พระสนม (ฮิง): โซงะ โนะ อิชิกินะ (ญี่ปุ่น: 蘇我石寸名โรมาจิSoga no Ishikina) พระธิดาในโซงะ โนะ อินาเมะ

  • พระราชโอรสองค์ที่หนึ่ง: เจ้าชายทาเมะ (ญี่ปุ่น: 田目皇子)

พระมเหสี (ฮิ): คัตสึรางิ ฮิโรโกะ (ญี่ปุ่น: 葛城広子โรมาจิKatsuragi Hiroko) พระธิดาในคัตสึรางิ โนะ อาตาเฮะ

  • พระราชโอรสองค์ที่สาม: เจ้าชายมาโรโกะ (ญี่ปุ่น: 当麻皇子; ค.ศ. 574-586)
  • เจ้าหญิงซูกาเตฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 酢香手姫皇女)

จักรพรรดิโยเมมีจักรพรรดินีสามพระองค์และพระราชโอรสธิดารวม 7 พระองค์[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 用明天皇 (31)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 46.
  3. Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, p. 263; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 37–38., p. 37, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. Varley, p.125.
  5. Brown, p. 263.

ข้อมูล

[แก้]
  • Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
  • Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
  • Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
  • Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842