การบริจาคโลหิต
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การบริจาคโลหิต คือการเก็บโลหิตจากผู้มีความประสงค์จะบริจาค เลือดนั้นนำไปใช้สำหรับการถ่ายเลือด และ/หรือการเยียวยาทางชีวเภสัชวิทยาโดยกระบวนการที่เรียกว่า การแยกส่วน (การแยกองค์ประกอบของเลือดครบ) การบริจาคอาจบริจาคเลือดครบ หรือเฉพาะองค์ประกอบหนึ่งของเลือดโดยตรง (apheresis) ก็ได้ ธนาคารเลือดมักเป็นผู้ดำเนินการเก็บเลือดและกระบวนการต่อจากนั้น
ผู้ประสงค์จะบริจาคโลหิตจะได้รับการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เลือดไม่ปลอดภัย ขั้นตอนการคัดกรองมีการทดสอบโรคที่สามารถส่งต่อได้ทางการถ่ายเลือด เช่น เอชไอวีและไวรัสตับอักเสบ ผู้บริจาคต้องตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์และรับการทดสอบทางกายสั้น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการบริจาคโลหิตไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริจาค ความถี่ของการบริจาคโลหิตนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของเลือดที่บริจาคและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา ผู้บริจาคสามารถบริจาคเลือดครบได้ทุก 8 สัปดาห์ (56 วัน) และบริจาคเฉพาะเกล็ดเลือดได้ทุก 3 วัน
การคัดกรอง
[แก้]เพื่อความปลอดภัยของผู้รับโลหิต
[แก้]เพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคโลหิต
[แก้]ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับการตรวจร่างกายเพื่อประเมินสุขภาพและถามคำถามต่างๆ เกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าการบริจาคโลหิตจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริจาค ผู้บริจาคจะได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือด (ระดับฮีมาโทคริต หรือ ระดับฮีโมโกลบิน) เพื่อให้แน่ใจว่าหลังบริจาคเลือดแล้วจะไม่เกิดภาวะโลหิตจางขึ้น การตรวจขั้นตอนนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริจาคถูกปฏิเสธเลือดที่พบบ่อยที่สุด[1] ระดับฮีโมโกลบินที่กาชาดอเมริกายอมรับให้บริจาคโลหิตได้คือมากกว่า 12.5 g/dL ในผู้หญิง หรือมากกว่า 13.0 g/dL ในเพศชาย และไม่เกิน 20 g/dL ผู้ที่มีระดับฮีโมโกลบินน้อยกว่าหรือมากกว่าค่าที่กำหนดนี้จะถูกปฏิเสธไม่ให้บริจาคโลหิต[2] นอกจากความเข้มข้นของเลือดแล้วผู้บริจาคจะได้รับการตรวจวัดอัตราชีพจร ความดันโลหิต และอุณหภูมิกาย ผู้บริจาคสูงอายุบางรายจะถูกปฏิเสธเนื่องจากอายุเกิน[3] นอกจากอายุแล้วน้ำหนักและส่วนสูงก็เป็นอีกปัจจัยที่จะนำไปพิจารณาคัดผู้บริจาค เช่น กาชาดอเมริกากำหนดให้ผู้ที่จะบริจาคเลือดเต็มหรือเกล็ดเลือดต้องมีน้ำหนักอย่างน้อย 50 กิโลกรัม หรือมากกว่า 59 กิโลกรัมในเพศชายและ 68 กิโลกรัมในเพศหญิง สำหรับการบริจาคเลือดแดงสองเท่า[4] ยังไม่มีการศึกษาความปลอดภัยในการบริจาคตโลหิตสำหรับผู้บริจาคที่กำลังตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้วจะงดรับบริจาคโลหิตจากผู้ตั้งครรภ์จนกว่าจะอยู่ในระยะมากกว่า 6 สัปดาห์หลังคลอด[5]
ขั้นตอนการบริจาคโลหิต
[แก้]- ขั้นตอนที่ 1 กรอกแบบฟอร์มใบสมัครผู้บริจาคโลหิต และวัดความดันโลหิต ควรให้ข้อมูลสุขภาพตรงตามความเป็นจริง เพื่อให้ได้โลหิตที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย ทั้งต่อตัวผู้บริจาคเอง และตัวผู้ป่วย
- ขั้นตอนที่ 2 ลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิตในระบบคอมพิวเตอร์
- ขั้นตอนที่ 3 ตรวจความเข้มโลหิต และคัดกรองสุขภาพโดยบุคลากรทางการแพทย์ จะสอบถามประวัติผู้บริจาคเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นว่าท่านมีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่
- ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต
- ขั้นตอนที่ 5 นั่งพัก 10 – 15 นาที ดื่มเครื่องดื่มและรับประทานอาหารว่าง
หลังบริจาคโลหิตจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการให้ และนั่งพักสักระยะหนึ่ง เพื่อสังเกตอาการหลังบริจาคโลหิต[6]
คุณสมบัติผู้บริจาค
[แก้]บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
เพื่อที่ผู้บริจาค จะไม่ต้องเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ในการรอบริจาค ผู้บริจาคควรสำรวจตนเองว่า มีคุณสมบัติเพียบพร้อมสำหรับการบริจาคหรือไม่ ซึ่งผู้บริจาค ควรมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
- เป็นผู้มีอายุระหว่าง 17 – 60 ปี
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป
- ไม่มีประวัติการเป็นโรคมาลาเรีย ในระยะ 3 ปี
- ไม่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ผู้หญิง ไม่อยู่ในระยะประจำเดือน หรือ มีครรภ์
- ไม่ควรบริจาคหลังทำการผ่าตัด ในระยะ 6 เดือน
- ผู้เคยรับโลหิตงดบริจาค 1 ปี
- งดสูบบุหรี่ก่อนบริจาค 12 ชั่วโมง
- ไม่ทานยาแก้อักเสบก่อนบริจาค 1 สัปดาห์
- ไม่ได้รับเลือดจากผู้อื่นมาระยะ 6 เดือน
- ไม่ได้รับวัคซีนภายใน 14 วัน เซรุ่มภายใน 1 ปี
- ไม่ได้มีสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่มิใช่คู่สมรส
- มีการนอนหลับสนิท ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
- ไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อการบริจาคโลหิต เช่น กามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ หยุดยาก โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ มะเร็ง หรือโรคอื่นๆ
- ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ได้แก่ ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ หรือ มีเพศสัมพันธ์แบบชายรักชาย
- ไม่ทำการเจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็มในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
- ไม่มีประวัติติดยาเสพติด หรือเคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
- ไม่เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์
- สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม
การบริจาค
[แก้]เมื่อถึงหน่วยบริจาครับบริจาคโลหิต จะมีผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน นำใบกรอกเพื่อเขียนประวัติของผู้บริจาคและเซ็นชื่อยินยอม และยอมรับว่าข้อมูลทั้งหมดเป็นความจริง
เมื่อกรอกเรียบร้อยจะถึงขั้นตอนการวัดความดัน และตรวจโลหิตขั้นต้น เพื่อคัดกรองโลหิตในขั้นต้น และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคเอง
หลังจากนั้นผู้บริจาคจะถูกพามานอนบนเตียงบริจาคเพื่อเจาะเข็มเข้าเส้นเลือด เพื่อนำโลหิตใส่ยังถุงโลหิต เป็นจำนวน 350 – 450 มิลลิลิตร เจ้าหน้าที่นำเข็มเจาะออก ควรนอนพักเพื่อปรับสภาพสักครู่
เมื่อลุกออกจากเตียง ควรรับอาหารว่าง ที่ทางหน่วยบริการจัดเตรียมไว้ ซึ่งหลักๆ ได้แก่ น้ำหวาน (น้ำแดง) และ ขนมที่มีธาตุเหล็ก พร้อมทั้งรับธาตุเหล็กกลับไปรับประทาน
การปฏิบัติตัวหลังการบริจาค
[แก้]หลังจากการบริจาคโลหิตแล้ว ผู้บริจาคควรปฏิบัติตนหลังการบริจากตามคำแนะนำ เพื่อประโยชน์ของผู้บริจาคเอง ดังนี้
- ดื่มน้ำมากกว่าปกติหลังบริจาคเป็นเวลา 2 วัน
- งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อหลังการบริจาค หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า
- ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานใช้แรง หรือใช้กำลังมาก ควรหยุดพักหนึ่งวัน
- รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
- หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง
ประเภทของการบริจาคเลือด
[แก้]โลหิตรวม Whole Blood
[แก้]บริจาคได้ทุก 3 เดือน ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะสูญเสียโลหิตเฉียบพลัน เช่น อุบัติเหตุ ผ่าตัด เลือดออกในกระเพาะอาหาร การคลอดบุตร
เม็ดเลือดแดง Red Cells
[แก้]บริจาคได้ทุก 4 เดือน ใช้รักษาผู้ป่วยที่สูญเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ใช้เวลาในการบริจาค 45 นาที
เกล็ดเลือด Platelets
[แก้]เกล็ดเลือด คือ ส่วนประกอบของเลือดช่วยทำให้เลือดแข็งตัว และช่วยอุดรอยฉีกขาดของเส้นเลือด เกล็ดเลือดมีอายุสั้นเมื่อออกมานอกร่างกายจะมีอายุประมาณ 5 วัน ต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 22 องศา พร้อมกับการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา
- คุณสมบัติผู้บริจาคเกล็ดเลือด
- อายุ 18 ปีบริบูรณ์ – 60 ปี บริจาคครั้งแรกไม่เกิน 50 ปี
- น้ำหนักมากกว่า 55 กิโลกรัมขึ้นไป
- มีค่าเกล็ดเลือด 2.4 แสนตัวต่อลูกบาศก์มิลลลิลิตร
- เป็นผู้ที่มาบริจาคโลหิตชนิดโลหิตรวมที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 6 เดือน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมื้อก่อนบริจาค
- มีเส้นเลือดที่ข้อพับแขนมองเห็นชัดเจน
- ไม่กินยาแก้ปวดแอสไพรินก่อนบริจาค 5 วัน
- ขั้นตอนการบริจาคเกล็ดเลือด
ผู้บริจาคจะถูกเจาะแขนข้างหนึ่ง บริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ (Blood Cell Separator Device) เครื่องจะปั่นแยกเกล็ดเลือดไว้โดยคืนส่วนอื่นกลับสู่ร่างกาย
บริจาคได้ทุก 1 เดือน ใช้รักษาผู้ป่วยที่ภาวะเกล็ดเลือดโลหิตต่ำและมีปัญหาเลือดออกไม่หยุด เช่น ไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดเลือดขาว ใช้เวลาในการบริจาค 1–2 ชั่วโมง
พลาสมา คือส่วนประกอบของโลหิตที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองใสซึ่งประกอบด้วย น้ำ 92% สารโปรตีน 8% การบริจาคพลาสมา บริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ (Blood Cell Separator Device) เครื่องจะปั่นแยกพลาสมาไว้โดยคืนส่วนอื่นกลับสู่ร่างกาย
- คุณสมบัติผู้บริจาคพลาสมา
- อายุ 18 ปีบริบูรณ์ - 60 ปี ถ้าบริจาคครั้งแรกอายุไม่เกิน 50 ปี
- ผู้ชาย น้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม
- ผู้หญิง น้ำหนักมากกว่า 60 กิโลกรัม
- เป็นผู้ที่มาบริจาคโลหิตชนิดโลหิตรวมที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 6 เดือน
- มีเส้นเลือดที่ข้อพับแขนมองเห็นชัดเจน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมื้อก่อนบริจาค
- อยู่ในโครงการอย่างน้อย 3 ปี
- นำไปใช้ในการรักษา
ผู้ที่มีอาการช็อคจากการขาดน้ำ ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
- นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ โลหิต 3 ชนิด
- แฟตเตอร์ 8 (Factor Vlll) รักษาโรคฮีโมฟีเลีย เอ
- อิมมูโนโกลบูลิน (lVlG) รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง
- อัลบูมิน (Albumin) รักษาไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และโรคตับ
บริจาคได้ทุก 14 วัน ใช้เวลาในการบริจาค 45 นาที
สเต็มเซลล์ Stem Cells
[แก้]- คุณสมบัติเบื้องต้น
- อายุ 18 - 50 ปีบริบูรณ์
- น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
- สุขภาพร่างกายแข็งแรง
- ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีโรคติดต่อ และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง
- ครอบครัวรับทราบ และยินดีให้บริจาค
- ขั้นตอนการลงทะเบียน
- ผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนประวัติผู้บริจาคโลหิต
- ตรวจวัดความดันโลหิต และตรวจความเข้มข้นโลหิต
- บุคลากรทางการแพทย์ สอบถามประวัติเพิ่มเติมว่าพร้อมบริจาคโลหิตหรือไม่
- ผู้สนใจลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาค Stem Cell
- เจ้าหน้าที่จะทำการเก็บตัวอย่างโลหิตประมาณ 3 ml.พร้อมบริจาคโลหิตเพื่อนำไปตรวจลักษณะเนื้อเยื้อ
การลงทะเบียนอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ต้องลงทะเบียนพร้อมการบริจาคโลหิต
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gómez-Simón A; Navarro-Núñez L; Pérez-Ceballos E; และคณะ (Jun 2007). "Evaluation of four rapid methods for hemoglobin screening of whole blood donors in mobile collection settings". Transfus. Apher. Sci. 36 (3): 235–42. doi:10.1016/j.transci.2007.01.010. PMID 17556020.
- ↑ "Iron Information for All Blood Donors". www.redcrossblood.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
- ↑ Goldman M, Fournier E, Cameron-Choi K, Steed T (May 2007). "Effect of changing the age criteria for blood donors". Vox Sang. 92 (4): 368–72. doi:10.1111/j.1423-0410.2007.00897.x. PMID 17456161. S2CID 36493554.
- ↑ "Eligibility Requirements". www.redcrossblood.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
- ↑ "Donating – Frequently Asked Questions". Blood Bank of Alaska. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
- ↑ https://blooddonationthai.com/th/
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรคและภาวะต่างๆที่มีผลต่อเกณฑ์การรับบริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจากโลหิตของสภากาชาดไทย เก็บถาวร 2007-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน