การผันคำ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ในทางภาษาศาสตร์ การผันคำ (อังกฤษ: inflection หรือ inflexion)[1] หรืออาจเรียกว่า การลงวิภัตติปัจจัย คือการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงรูปคำเช่นนี้ไม่พบในภาษาไทย แต่จะพบในภาษาในหลายๆตระกูล เช่น ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เป็นต้น ภาษาที่อาศัยการผันคำเพื่อเปลี่ยนความหมายในระดับสูงเรียกว่า ภาษามีวิภัตติปัจจัย (Inflectional Language) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ภาษาคำโดด (Isolating Language) ซึ่งมักจะเป็นภาษาที่คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีการผันคำ สำหรับภาษาที่จำแนกตามลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) และ ภาษาคำควบมากพยางค์ (Poly-synthetic Language)
การผันคำนาม
[แก้]การผันคำนามจะแสดงเพศ พจน์ และการกของคำนั้นๆในประโยค โดยแต่ละภาษาก็จะมีจำนวนเพศ พจน์ และการกที่ไม่เท่ากัน เช่น ภาษาเยอรมันมีเพียง 4 การก แต่ภาษาสันสกฤตมีถึง 8 การก ภาษาอังกฤษมีเพียง 2 พจน์ แต่ภาษาหลายภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนมีถึง 4 พจน์[ต้องการอ้างอิง]
ตัวอย่างการผันคำนามตามพจน์และการกในภาษาบาลี[2]
นร (คนผู้ชาย) | ||
การก | พจน์ (วจน) | |
เอกพจน์ (เอกวจน) | พหูพจน์ (พหุวจน) | |
ประธาน (ปฐมา) กรรตุการก (กัตตุการก, กตฺตุการก) | นโร (นร + -สิ วิภัตติ) | นรา (นร + -โย วิภัตติ) |
กรรมตรง (ทุติยา) กรรมการก (กัมมการก, กมฺมการก) | นรํ (นร + -อํ วิภัตติ) | นเร (นร + -โย วิภัตติ) |
เครื่องมือ (ตติยา) กรณการก | นเรน (นร + -นา วิภัตติ) | นเรภิ, นเรหิ (นร + -หิ วิภัตติ) |
กรรมรอง (จตุตฺถี) สัมปทานการก (สมฺปทานการก) | นรสฺส, นราย, นรตฺถํ (นร + -ส วิภัตติ) | นรานํ (นร + -นํ วิภัตติ) |
แหล่งที่มา (ปญฺจมี) อปาทานการก | นรสฺมา, นรมฺหา, นรา (นร + -สฺมา วิภัตติ) | นเรภิ, นเรหิ (นร + -หิ วิภัตติ) |
เจ้าของ (ฉฏฺฐี) สัมพันธการก (สมฺพนฺธการก) | นรสฺส (นร + -ส วิภัตติ) | นรานํ (นร + -นํ วิภัตติ) |
สถานที่ (สตฺตมี) อธิกรณการก | นรสฺมิํ, นรมฺหิ, นเร (นร + -สฺมิํ/สฺมึ วิภัตติ) | นเรสุ (นร + -สุ วิภัตติ) |
อาลปนะ (อาลปน) สัมโพธนาการก (สมฺโพธนาการก) | นร (นร + -สิ วิภัตติ) | นรา (นร + -โย วิภัตติ) |
การผันคำสรรพนาม
[แก้]การผันคำสรรพนามจะคล้ายคลึงกับการผันคำนาม ซึ่งจะแสดงเพศ พจน์ และการกในประโยค โดยจะแตกต่างจากคำนามที่ว่า คำนามจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มหน่วยเสียงที่ท้ายคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ การก แต่สรรพนามมักจะเปลี่ยนรูปคำไปเลย
ตัวอย่างการผันคำสรรพนามตามเพศ พจน์ และการกในภาษาไอซ์แลนด์[ต้องการอ้างอิง]
การก | บุรุษที่ 1 | บุรุษที่ 2 | บุรุษที่ 3 | |||
เพศชาย | เพศหญิง | เพศกลาง | ||||
เอกพจน์ | กรรตุการก | ég | þú | hann | hún | það |
กรรมการก | mig | þig | hann | hana | það | |
สัมปทานการก | mér | þér | honum | henni | því | |
สัมพันธการก | mín | þín | hans | hennar | þess | |
พหูพจน์ | กรรตุการก | við | þið | þeir | þær | þau |
กรรมการก | okkur | ykkur | þá | þær | þau | |
สัมปทานการก | okkur | ykkur | þeim | |||
สัมพันธการก | okkar | ykkar | þeirra |
ดูเพิ่ม
[แก้]- ลิงค์ (ภาษาศาสตร์) หรือ เพศทางไวยากรณ์
- การก หรือ คำที่แสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์
- บุรุษ (ภาษาศาสตร์) หรือ บุคคลทางไวยากรณ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Crystal, David. (2008). A Dictionary of Linguistics and Phonetics (6th ed., pp. 243-244). Malden, MA: Blackwell.
- ↑ "PL 201 ภาษาบาลี 1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-19.