ฟาโรห์คาบาช
คาบาช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คาบาบาช, คาบบาช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนหนึ่งของ จารึกแห่งนาสตาเซน ที่กล่าวถึง (แถวที่ 13) ผู้บุกรุกชาวอียิปต์นามว่า คามยาซุตเอน (ซึ่งน่าจะเป็นฟาโรห์คาบาช)[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ราว 338 – ราว 335 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 4หรือดาริอุสที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด[3] |
คาบาช หรือ คาบาบาช หรือ คาบบาช ทรงพำนักอยู่ที่เมืองซาอิสในเขตปกครองท้องถิ่นลำดับที่ห้าของอียิปต์ล่างในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ระหว่างการยึดครองอียิปต์ครั้งที่สองของเปอร์เซีย (ระหว่าง 343–332 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ทรงได้นำการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของเปอร์เซียร่วมกับพระราชโอรสพระองค์โตของพระองค์ในช่วงระหว่าง 338 ถึง 335 ปีก่อนคริสตกาล ไม่กี่ปีก่อนการพิชิตอียิปต์โดยกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช[4] กล่าวกันว่าฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระองค์สุดท้ายที่ถูกเนรเทศอาจจะทรงให้ความช่วยเหลือในการก่อกบฏดังกล่าว แต่พระองค์อาจจะทรงความล้มเหลวในการก่อกบฏ[ต้องการอ้างอิง]
ไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับข้อมูลของฟาโรห์คาบาช พระองค์ทรงได้รับการขนานพระนามว่าเป็น "เจ้าแห่งดินแดนทั้งสอง"[5] คือ กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง และในพระนาม "บุตรแห่งรา" อีกพระนามหนึ่งของฟาโรห์ และทรงมีพระนามครองราชย์ว่า เซเนน-เซเทป-เอน-พทาห์ ในบันทึกคำสั่งโดยทอเลมี ลากิเดส[6] ซึ่งทรงขึ้นเป็นฟาโรห์ปโตเลมีที่ 1 โซเตอร์ เมื่อ 305 ปีก่อนคริสตกาล
ในช่วงทศวรรษที่ 330 ก่อนคริสตกาล ผู้ปกครองชาวอียิปต์พระนามว่า คามบาซุตเอน ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในพระนาม คาบาช ได้ทรงนำการรุกรานเข้าสู่ราชอาณาจักรคุช ซึ่งถูกกษัตริย์นาสตาเซนทรงสามารถเอาชนะได้ตามที่บันทึกไว้ในจารึก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน โลงพระศพของพระโคอาพิสที่ปรากฏพระนามของพระองค์ถูกพบในวิหารเซราพิสแห่งซักกอเราะฮ์[7] ซึ่งสามารถย้อนหลังไปถึงปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gauthier, Henri (1916). Le Livre des rois d'Égypte IV. MIFAO. Vol. 20. Cairo. p. 139. OCLC 473879272 (here misinterpreted as Cambyses II).
- ↑ Henri Gauthier, op. cit., p. 196.
- ↑ จัดอยู่ในราชวงศ์นี้ด้วยเหตุผลตามลำดับเวลาเท่านั้น เนื่องจากพระองค์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อะคีเมนิด
- ↑ Vasunia, Phiroze (2001). The Gift of the Nile: Hellenizing Egypt from Aeschylus to Alexander. University of California Press. p. 266. ISBN 0-520-22820-0.
- ↑ Records of the Past Being English Translations of the Assyrian and Egyptian Monuments. Adamant Media. 2001. p. 73.
- ↑ "The decree of Ptolemy Lagides". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-04. สืบค้นเมื่อ 2007-06-18.
- ↑ Baedeker, Karl (2000) [1898]. Egypt. Adamant Media. p. 130. ISBN 1-4021-9705-5.
- ↑ Birch, Samuel (1883). Egypt from the earliest times to B.C. 300. Ancient history from the monuments. Society for Promoting Christian Knowledge. p. 189. OCLC 82441982.