ข้ามไปเนื้อหา

ลิลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิลี
Lilium
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Liliales
วงศ์: Liliaceae
สกุล: Lilium
L.
Species

See text

ลิลี (อังกฤษ: lily; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lilium) เป็นไม้ดอกประเภทหัว (bulb[1]) ที่มีการชื้อขายกันมากเป็นอันดับห้า รองจากกุหลาบ เบญจมาศ ทิวลิป และคาร์เนชัน ส่วนใหญ่จะปลูกบนที่สูง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และจังหวัดเลย เนื่องจากมันเป็นพืชที่เจริญเติบโตในสภาพอากาศที่หนาวเย็น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และบริเวณตอนเหนือของญี่ปุ่น มีฉายาว่า "ดอกไม้ของเจ้าหญิง[2]"

ดอกลิลี่เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ สดใส ไร้เดียงสา จึงมักนำมาใช้ประดับในงานสังสรรค์รื่นเริง เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย โดยจะมีความหมายจำเพาะตามสีของดอก

แต่ในความสวยงามนั้น ก็ยังมีความอันตรายอยู่ เพราะลิลีเป็นพืชมีพิษ ถ้าเผลอรับประทานเข้าไปจะทำให้ไตวาย และนำไปสู่อัมพาตในที่สุด[3]

ความหมายของดอกลิลีสีต่าง ๆ[4]

[แก้]

เนื่องจากลิลีมีสีของดอกที่หลากหลาย จึงมีการตีความในความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้

ดอกสีขาว (white lilly) แสดงออกถึงความรักที่บริสุทธิ์  ความรักแบบอ่อนหวาน จริงใจ และเทิดทูน ความอ่อนหวานแสนดี เป็นเหมือนการบอกเป็นนัยว่าคือรักแรกพบ

ดอกสีชมพู (pink lilly) แสดงออกถึงการค้นหาความรักที่ดีที่สุดแล้วพบเจอมัน  เป็นดอกไม้ที่ผสมผสานอารมณ์ของความรักได้ อย่างลงตัว สื่อถึงความรักความจริงใจที่มี นอกจากนี้ยังเป็นนิยมเป็นดอกไม้ที่จะให้แก่คนรักอีกด้วย

ดอกสีส้ม (orange lilly) แสดงออกถึงความร่าเริง สดใส ความปิติสุขที่ได้อยู่ใกล้  เป็นดอกไม้ที่นำความน่ารักและความสดใสมารวมกันอย่างพอดี นิยมให้เพื่อนสนิท หรือคนรู้จัก

ดอกสีเหลือง (yellow lilly) แสดงออกถึงความอบอุ่นห่วงใย อวยพรให้ปลอดภัยจากภยันอันตราย

ลักษณะทั่วไป[5]

[แก้]

ลิลี่เป็นไม้ดอกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน หัวของลิลี่ คือ ส่วนลำต้นที่อัดตัวกันแน่น ประกอบด้วยฐานของหัว ลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ ด้านบนเป็นกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นคล้ายกลีบหอมหัวใหญ่ ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร ด้านล่างของฐานจะมีรากงอกออกมา หัวของลิลี่จะเจริญเติบโตและเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปีจะสร้างจุดเจริญใหม่ภายในหัว เมื่อหัวพัฒนาเต็มที่และ ได้ผ่านช่วงฤดูหนาวเกิดการทำลายการฟักตัวของหัว ยอดใหญ่จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นเหนือดิน และส่วนยอดะสร้างช่อดอก ซึ่งดอกจะมีกลีบดอก 6 กลีบ แยกออกจากกัน มีเกสรตัวผู้ชูขึ้นอยู่ใจกลางดอก ลิลี่นั้นมีหลายสี มีทั้งสีขาว ชมพู ส้ม แดง ม่วง และมีสองสีในดอกเดียวกัน ดอกจะบานได้ 2-4 วัน

ลิลี่เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงตั้งแต่ 2-6 ฟุต (60-180 เซนติเมตร) มีการสร้าง Bulb เปลือยเปล่าที่สามารถมีชีวิตอยู่ใต้ในฤดูหนาว สามารถพัฒนาไปเป็นไรโซม rhizomes หรือ stolon ได้ในบางสายพันธุ์

ปัจจัยสำคัญในการปลูก[6]

[แก้]

สภาพที่เหมาะสมในการปลูก

  1. วัสดุปลูก ลิลลี่ปลูกได้ในดินที่มีการระบายน้ำ และอากาศดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ph 6 – 7 รักษาความชื้นในแปลงโดยการคลุมดิน ด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว หรือเปลือกถั่ว
  2. อุณหภูมิ ช่วงแรกของการเจริญเติบโต ต้องการอุณหภูมิประมาณ 12 – 15 ซ.หากต่ำกว่านี้จะทำให้ยอดเจริญช้าเกินไป หลังจากนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของลิลลี่ คือ กลางคืน 14 – 16 ซ. และกลางวัน 22 – 25 ซ.
  3. ความชื้น ที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ของลิลลี่ คือความชื้น สัมพัทธ์ ร้อยละ 80 – 85 ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงความชื้น แบบกระทันหัน เพราะจะทำให้เกิดใบไหม้ (leaf scorn) ในพันธุ์ที่อ่อนแอ กับอาการนี้ หารมีการเปลี่ยนแปลงควรค่อยเป็น ค่อยไป จึงควรใช้การพรางแสง การระบายอากาศ และการให้น้ำ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็ว
  4. แสง ในช่วงอากาศร้อน อุณหภูมิสูง ทำให้คุณภาพดอกต่ำ ในช่วงแดดจัดควร พรางแสงให้ ลิลลี่กลุ่มเอเชียติก และลองจิฟลอรัม ร้อยละ 50 ส่วนกลุ่ม ออเรียนเทิล ร้อบละ 70 การพรางแสง ยังช่วยรักษาความชื้นด้วย

การปลูก

แปลงปลูกควรยกแปลงสูง 20-30 ซ.ม กว้าง 1 เมตร เว้นทางเดิน 50 ซ.ม

ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของหัวพันธุ์ เมื่อได้รับหัวพันธุ์ ในลักษณะแช่แข็ง (-4 องศาเซลเซียส) ให้เปิดถุงพลาสติกในร่มมีหลังคา และปล่อยให้ละลายในถุง เป็นเวลา 1-2 วัน จากนั้น จึงนำไปปลูก โดยขุดหลุม และกลบดินเหนือหัวพันธุ์ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้รากที่เกิดขึ้นบนต้นเหนือหัวพันธุ์ เจริญได้สมบูรณ์ที่สุด ร้อยละ 90 ของการเจริญของลิลลี่ขึ้นอยู่กับรากนี้

การให้น้ำ

ควรให้น้ำ 2 – 3 วันก่อนปลูกเพื่อให้ดินชื้น ในระยะแรกที่ปลูกใหม่ จากนั้น ควรรดน้ำวันละครั้ง ในช่วงเช้า พยายามให้ดินมีความชื้นอยู่ เสมอ

การให้ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยหมัก ปริมาณ 1 ลูกบาตรเมตร ต่อพื้นที่ 100 ตรม. ให้ปุ๋ยครั้งแรก 3 สัปดาห์หลังปลูก ควรให้ปุ๋ย แคลเซี่ยมไนเตรต สูตร 15 – 0 – 0 อัตรา 1 กก. ต่อพื้นที่ 100 ตรม. ต่อมาให้สูตร 12 – 10 – 18 ทุก 2 สัปดาห์ หลังตัดดอกแล้วหากต้องการเก็บหัวพันธุ์ ควรให้ปุ๋ยที่มี โปแตสเซี่ยมสูง เพื่อช่วยในการพัฒนาหัว เช่นสูตร 13 – 13 -21 ทุก 2 สัปดาห์

การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว

ระยะที่เหมาะสมในการตัดดอกลิลลี่จะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ หลักการทั่วไปคือ ควรตัดดอกลิลลี่ ในระยะที่ดอกล่างสุดตูม เริ่มมีสี และพร้อมที่จะบานในวันถัดไป เพื่อความสะดวกในการขนส่ง หรือสังเกตระยะก่อนดอกบาน 1 วัน เป็นระยะที่เหมาะสมในการตัดดอก การตัดดอกเร็วเกินไปจะทำให้ดอกบานช้า สีซีด จำนวนดอกบานน้อย และคุณภาพต่ำ ควรตัดที่ช่อ โดยเหลือต้นไว้เหนือดินประมาณ 10-20 ซม. จากนั้นทำการคัดเกรด ตามจำนวนดอก ความยาว และความแข็งแรงของก้าน ควรเอาใบที่โคนก้านใบออกทั้งหมดเป็นระยะประมาณ 10 ซม. เพื่อยืดอายุในการปักแจกัน และป้องกันน้ำเสีย มัดกำ คัดก้าน เนื่องจากดอกลิลลี่เสียหายง่าย หากได้รับแก๊สเอ็ทธิลีน หลังการตัดดอก ควรแช่ในสาร ชิลเวอร์ไธโอซัลเฟส อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นเวลา 20 นาที จากนั้นจึงย้ายใส่ในน้ำสะอาด ที่ปรับค่า pH เท่ากับ 3.5 เก็บที่อุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส หากได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะสามารถเก็บดอกลิลลี่ในห้องเย็นเป็นเวลานานถึง 4 สัปดาห์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Bulb

[2] http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/510-482web/510-482web-1-10-46/Lily.htm เก็บถาวร 2016-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

[4] https://sites.google.com/site/pakaporntunsuwan/dxk-lilli เก็บถาวร 2020-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

[5] https://en.wikipedia.org/wiki/Lilium

[6] https://zack43095.wordpress.com/2011/01/16/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88/

  1. 1.0 1.1 https://en.wikipedia.org/wiki/Bulb
  2. 2.0 2.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-11. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  4. 4.0 4.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16.
  5. 5.0 5.1 https://en.wikipedia.org/wiki/Lilium
  6. 6.0 6.1 https://zack43095.wordpress.com/2011/01/16/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88/