วิธีใช้:ลิงก์
หน้าคำอธิบายนี้เป็นคู่มือบอกวิธี ซึ่งบอกรายละเอียดกระบวนการหรือกระบวนวิธีของบางส่วนของบรรทัดฐานและวัตรของวิกิพีเดีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย
|
คู่มือการเขียน (MoS) |
---|
สารบัญ |
นี่เป็นหน้าช่วยเหลือสำหรับการใส่ลิงก์ในหน้าต่าง ๆ ของวิกิพีเดีย การใช้งานต้องทำการเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ หากมีปัญหาสามารถถามหรือปรึกษาได้ที่ วิกิพีเดีย:แผนกช่วยเหลือ
สำหรับแนวทางการสร้างลิงก์ให้ดูที่หน้า วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน/การสร้างลิงก์
ลิงก์ภายใน
[แก้]ลิงก์ไปยังหน้าต่าง ๆ ในวิกิพีเดียภาษาไทยด้วยกันเอง ให้ใช้วงเล็บเหลี่ยมซ้อนสองคู่ [[ ]]
ใช้ขีดตั้ง "|" (สัญลักษณ์ "ไพป์") เพื่อสร้างลิงก์แต่ระบุข้อความเป็นชื่ออื่นทางหน้าต้นทาง คำแรกที่อยู่ในวงเล็บเป็นลิงก์ (คือหน้าที่คุณต้องการให้นำไป) ขณะที่ข้อความที่อยู่หลังขีดตั้งเป็นข้อความที่คุณตั้งใจให้ปรากฏในหน้าต้นทาง
โค้ด | ผลที่แสดงออก | หมายเหตุ |
---|---|---|
[[ประเทศไทย]] | ประเทศไทย | เชื่อมโยงบทความปลายทาง "ประเทศไทย" |
[[ประเทศไทย|ไทย]] | ไทย | เชื่อมโยงบทความปลายทาง "ประเทศไทย" โดยแสดงข้อความเป็น "ไทย" |
[[#ประวัติศาสตร์]] | #ประวัติศาสตร์ | เชื่อมโยงไปยังหัวข้อ "ประวัติศาสตร์" ในบทความตัวเองที่มีลิงก์นี้อยู่ (ถ้ามี) |
[[ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์]] | ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์ | เชื่อมโยงไปยังหัวข้อ "ประวัติศาสตร์" ในบทความ "ประเทศไทย" (ถ้ามี) |
[[ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์|ไทย]] | ไทย | เหมือนข้างบน แต่แสดงข้อความเป็น "ไทย" |
[[ไทย (แก้ความกำกวม)|]] | ไทย | ใส่ขีดตั้งโดยไม่ใส่ข้อความ เป็นทางลัดเพื่อตัดวงเล็บออก เหลือข้อความแค่ "ไทย" อย่างไรก็ตามเมื่อแก้ไขอีกครั้งลิงก์นี้จะกลายเป็นลิงก์เต็ม ดังเช่นตัวอย่างที่สอง |
[[:หมวดหมู่:ภาษา]] | หมวดหมู่:ภาษา | ถ้าไม่มีตัว : (colon) นำหน้า แทนที่จะเป็นลิงก์ไปที่หมวดหมู่ จะกลายเป็นลิงก์เพื่อการจัดหมวดหมู่ |
[[:ภาพ:Example.jpg]] | ภาพ:Example.jpg | ถ้าไม่มีตัว : (colon) นำหน้า แทนที่จะเป็นลิงก์ไปที่ภาพ จะกลายเป็นลิงก์เพื่อการใส่ภาพ |
เป้าหมายลิงก์ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก (case sensitive) ยกเว้นอักขระตัวแรก (เช่น [[atom]]
ลิงก์ไป "Atom" แต่ไม่ใช่ [[ATom]]
)
หลังจากใส่ลิงก์แล้วท่านไม่ต้องกังวลว่ามันจะเป็นสีน้ำเงินหรือสีแดง สีน้ำเงินหมายถึงมีบทความปลายทางแล้ว ส่วนสีแดงหมายถึงยังไม่มีบทความ ซึ่งผู้ใช้อื่นสามารถคลิกลิงก์สีแดงเพื่อสร้างบทความใหม่ได้ทันที มิใช่เป็นการเน้นคำด้วยสีสัน ดูเพิ่มที่ วิธีใช้:สีลิงก์ ระหว่างอยู่ในหน้าว่างนั้น ลิงก์แดงอื่นที่ชี้ไปยังชื่อเรื่องของหน้าที่ยังไม่มีนี้สามารถดูได้โดยใช้คุณลักษณะ "หน้าที่ลิงก์มา"
หากเป้าหมายของลิงก์เป็นหน้าเดียวกับหน้าที่ปรากฏ (ลิงก์ตัวเอง) ลิงก์จะแสดงผลเป็นอักษรตัวเส้นหนา เช่น วิธีใช้:ลิงก์
เมื่อพยายามลิงก์ตามปกติไปยังหน้าภาพ หน้าหมวดหมู่หรือลิงก์ข้ามภาษาจะได้ผลต่างออกไป คือ จะเป็นการเพิ่มภาพในหน้านั้น เพิ่มหน้าเข้าหมวดหมู่หรือสร้างลิงก์ข้ามภาษาที่ขอบซ้ายของหน้าแทน หากต้องการทำลิงก์ ให้ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายทวิภาค ":" เช่น ไฟล์:Mediawiki.png, หมวดหมู่:วิธีใช้วิกิพีเดีย, fr:Help:Link
เว็บไซต์ภายนอก
[แก้]ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภายนอกที่ไม่เกี่ยวกับวิกิพีเดีย หรือไม่ใช่เว็บโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย ให้ใช้วงเล็บเหลี่ยมคู่เดียว [ ]
ตัวอย่างนี้จะสาธิตกับการลิงก์ไปเว็บกูเกิล
โค้ด | ผลที่แสดงออก | หมายเหตุ |
---|---|---|
[http://www.google.com กูเกิล] | กูเกิล | ข้อความจะแสดงเพียงแค่ "กูเกิล" เท่านั้น |
[http://www.google.com] | [1] | ไม่แสดงข้อความ แสดงเฉพาะลำดับเลข |
http://www.google.com | http://www.google.com | แสดงยูอาร์แอลเต็ม |
<span class="plainlinks">http://www.google.com</span> | http://www.google.com | ซ่อนลูกศรสีฟ้าจากลิงก์ |
โครงการพี่น้อง
[แก้]ลิงก์ไปยังเว็บโครงการพี่น้องและเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิวิกิมีเดีย และ วิกิพีเดีย ช่องที่ถูกเว้นว่างไว้ คือ มีเฉพาะ รูปแบบเต็ม หรือ รูปแบบย่อเท่านั้น
เว็บ | รูปแบบเต็ม | รูปแบบย่อ |
---|---|---|
วิกิพีเดีย | [[[[wikipedia:]]]]
|
[[w:]]
|
วิกิพจนานุกรม | [[wiktionary:]]
|
[[wikt:]]
|
วิกิข่าว | [[wikinews:]]
|
[[n:]]
|
วิกิตำรา | [[wikibooks:]]
|
[[b:]]
|
วิกิคำคม | [[wikiquote:]]
|
[[q:]]
|
วิกิซอร์ซ | [[wikisource:]]
|
[[s:]]
|
วิกิสปีชีส์ | [[wikispecies:]]
|
[[species:]]
|
วิกิวิทยาลัย |
|
[[v:]]
|
มูลนิธิวิกิมีเดีย | [[wikimedia:]]
|
|
วิกิมีเดียคอมมอนส์ | [[commons:]]
|
|
วิกิมีเดีย เมทา-วิกิ | [[meta:]]
|
[[m:]]
|
วิกิมีเดีย อินคูเบเตอร์ | [[incubator:]]
|
|
มีเดียวิกิ |
|
[[mw:]]
|
มีเดียซิลลา | [[mediazilla:]]
|
|
การใช้งานส่วนนี้ยังค่อนข้างซับซ้อน และยากสำหรับผู้ใช้ใหม่ แนะนำว่าให้แก้ไขไปเรื่อย ๆ ก่อน และดูตัวอย่างการใช้งานไปจนเข้าใจ
การเชื่อมโยงส่วน (หลักยึด)
[แก้]หากต้องการเชื่อมโยงส่วนหรือส่วนย่อยในอีกหน้าหนึ่ง ให้ผนวกเครื่องหมาย # และชื่อส่วนต่อท้ายชื่อหน้า ดังนี้
[[ชื่อหน้า#ชื่อส่วน|ข้อความที่แสดง]]
หากเชื่อมโยงในหน้าเดียวกัน คุณสามารถละชื่อหน้าและใช้
[[#ชื่อส่วน|ข้อความที่แสดง]]
สังเกตว่า ชื่อส่วน
ไวต่ออักษรใหญ่เล็กทั้งหมด ซึ่งต่างจากการเชื่อมโยงบทความ ที่อักษรตัวแรกไม่ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก
- แม่แบบ
ในการเชื่อมโยงไปยังส่วนเพื่อให้จัดรูปแบบด้วยสัญลักษณ์ส่วนแทน (คือ ชื่อหน้า § ชื่อส่วน ไม่ใช่ ชื่อหน้า#ชื่อส่วน) ให้ใช้แม่แบบ {{Section link}} (หรือ {{slink}}) ดังนี้
{{Section link|ชื่อหน้า|ชื่อส่วน}}
เมื่อใช้แม่แบบ จำเป็นต้องเข้ารหัสอักขระบางตัว [ ] { | }
เมื่อเชื่อมโยงไปยังส่วน
[ | ] | { | | | } |
---|---|---|---|---|
.5B | .5D | .7B | .7C | .7D |
ตัวอย่างเช่น ส่วน "คำร้องทุกข์[ที่ปิดรับแล้ว]" สามารถเชื่อมโยงได้ด้วย [[#คำร้องทุกข์.5Bที่ปิดรับแล้ว.5D]]
ลิงก์ในสารบัญจะเข้ารหัสเช่นนี้อัตโนมัติฉะนั้นสามารถคัดลอกยูอาร์แอลจากลิงก์สารบัญได้ อย่างไรก็ดี ยูอาร์แอลจะยังเข้ารหัสอักขระอื่นซึ่งไม่ขัดขวางแม่แบบหรือรหัสวิกิด้วย ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้อาจดูน่าเกลียดบ้าง
การนิยาม
[แก้]ที่จริงแล้วชื่อเรื่องส่วนชี้ไปยัง "หลักยึด" ในหน้าเป้าหมาย ในคู่มือการเขียน การนิยามหลักยึดอาจน่าใช้มากกว่าชื่อเรื่องส่วนที่ระบุไว้ โดยใช้ {{Anchor|ชื่อหลักยึด}} หรืออีกทางหนึ่งใช้รหัสเอชทีเอ็มแอล <span id="anchor_name">...</span>
(ดูวากยสัมพันธ์ {{Anchor}}) การเชื่อมโยงไปยังหลักยึดสามารถเพิ่มเข้ายูอาร์แอลภายนอกและลิงก์ข้ามโครงการได้โดยใช้วากยสัมพันธ์ # เช่นกัน
การเชื่อมโยงส่วนจะยังใช้การได้ผ่านชื่อหน้าซึ่งเป็นหน้าเปลี่ยนทาง ตัวอย่างเช่น ถ้าดันซิกเปลี่ยนทางไปยังกดัญสก์แล้ว ดันซิก#เมืองพี่น้อง จะเชื่อมโยงไปยังส่วน "เมืองพี่น้อง" ของบทความกดัญสก์ด้วย ในทางกลับกัน ยังเป็นไปได้ที่จะใส่ลิงก์ส่วนเป็นเป้าหมายของหน้าเปลี่ยนทาง (แต่จะใช้การได้เฉพาะทางเปิดใช้งานจาวาสคริปต์) เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า [[วิกิพีเดีย:ลิงก์ส่วน]] เปลี่ยนทางมายังส่วน [[วิธีใช้:ลิงก์#การเชื่อมโยงส่วน (หลักยึด)]] ในหน้านี้ แต่เมื่อเพิ่มส่วนเข้าลิงก์ที่เปลี่ยนทาง ส่วนที่ระบุชื่อจะเขียนทับส่วนดั้งเดิมในการเปลี่ยนทาง ผลคือ [[วิกิพีเดีย:ลิงก์ส่วน#ลิงก์ข้ามโครงการ]] จะเชื่อมโยงไปยังส่วน "ลิงก์ข้ามโครงการ" ของหน้านี้แทน
ชื่อส่วนซ้ำกัน
[แก้]หากในหน้าปลายทางมีมากกว่าหนึ่งส่วนใช้ชื่อเดียวกนั ลิงก์ไปยังชื่อส่วนนั้นจะไปยังส่วนแรกที่ใช้ชื่อดังกล่าว หากต้องการเชื่อมโยงไปยังอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ชื่อเดียวกันนั้น หรือชื่อที่ใช้อักษรใหญ่เล็กต่างกัน (เช่น Example และ EXAMPLE) ให้ผนวก _2, _3 ฯลฯ เข้ากับชื่อเรื่องที่เชื่อมโยง โดยนับจากบนสุดของหน้าปลายทาง โดยไม่คำนึงว่าส่วนนั้นเป็นส่วนหรือส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น สำหรับหลายส่วนที่ใช้ชื่อว่า "ประวัติศาสตร์" อาจเชื่อมโยงเป็น "ประวัติศาสตร์", "ประวัติศาสตร์_2" (หรือ "ประวัติศาสตร์ 2") เป็นต้น
การเชื่อมโยงไปยังส่วนหนึ่งของส่วน
[แก้]สามารถใช้หลักยึดเชื่อมโยงไปยังส่วนใดของส่วนหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเชื่อมโยงไปยังประโยคที่ห้าของส่วนหนึ่ง คุณสามารถใส่หลักยึดไว้ต้นประโยคดังกล่าว แล้วคุณสามารถเชื่อมโยงไปยังหลักยึดในทางเดียวกับที่คุณจะเชื่อมโยงไปหลักยึดอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องเลือกชื่อหลักยึดที่ไม่ซ้ำกันในหน้านั้น (ทั้งในบทความและหน้าคุย) และคิดว่าไม่น่าจะมีผู้ใช้ซ้ำ การเชื่อมโยงจะชี้ไปยังยังหลักยึดแรกเท่านั้น
นอกจากนี้ยังจัดวางหลักยึดไว้ที่ใดก็ได้ในประโยค และในหมายเหตุและอ้างอิง แต่ควรทดสอบในกระบะทรายก่อนลองใส่ในตำแหน่งแปลก ๆ เป็นครั้งแรก
ลิงก์หน้าย่อย
[แก้]วิกิลิงก์จำเป็นต้องมี [[ชื่อหน้าเต็ม]] ยกเว้นกรณีที่เชื่อมโยงไปหรือมาจากหน้าย่อย วิกิลิงก์ไปยังหน้าพ่อแม่ คือ [[../]] และแม้ไม่ระบุชื่อหน้าใดก็ตาม แต่จะเรนเดอร์ "ชื่อหน้าเต็ม" ในหน้าพ่อแม่ วิกิลิงก์ไปยังหน้าย่อยสามารถใช้ [[/ชื่อหน้าย่อย]] เพื่อเรนเดอร์ชื่อหน้าย่อยแทน
แต่แม้มีการสร้างหน้าย่อยในเนมสเปซบทความ แต่การเชื่อมโยงหน้าย่อยจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์
การเชื่อมโยงหน้าย่อยทำงานได้ตามคาดหมายในการเชื่อมโยงหน้าใด ๆ ภายใต้หน้าพ่อแม้ราก
- การเชื่อมโยงส่วน: [[../#ส่วน]]
- การเชื่อมโยงหน้าย่อยไปหน้าย่อย: [[../ชื่อหน้าย่อย]]
- หน้าพ่อแม่ของหน้าพ่อแม่ [[../../]]
- รวมทั้ง [[../|ไพพ์ทริก]]
- และรวมการรวมข้าม (transclusion): {{../}} และ {{/subpagename}}
ตัวอย่างหน้า Manual of style ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ สมมติว่าคุณกำลังแก้ไขหน้าที่มีชื่อคล้ายกันดังนี้
- en:Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Signatures
- en:Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Data tables tutorial
- en:Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Data tables tutorial/Internal guidelines
ในชื่อหน้าย่อย | สิ่งที่คุณพิมพ์ | สิ่งที่คุณได้ | เชื่อมโยงไปยัง |
---|---|---|---|
Data tables tutorial | [[../]] |
Wikipedia:Manual of Style/Accessibility | หน้าพ่อแม่ |
Internalguidelines | [[../../]] |
Wikipedia:Manual of Style/Accessibility | หน้าพ่อแม่ของหน้าพ่อแม่ |
Accessibility | [[/Signatures]] |
/Signatures | หน้าย่อย |
Accessibility | [[/Signatures/]] |
Signatures | หน้าย่อย |
Data tables tutorial | [[../Signatures]] |
Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Signatures | หน้าระดับเดียวกัน |
Data tables tutorial | [[../Signatures/]] |
Signatures | ระดับเดียวกัน |
Internalguidelines | [[../../Signatures]] |
Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Signatures | หน้าระดับพ่อแม่ |
Signatures | [[../Data tables tutorial/Internal guidelines]] |
Wikipedia:Manual of Style/Accessibility/Data tables tutorial/Internal guidelines | หน้าระดับหน้าย่อย |
ดูเพิ่ม
[แก้]