ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยโตเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยโตเกียว
東京大学
ใบแปะก๊วย
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยโตเกียว
ละติน: Universitas Tociensis
ชื่อเดิมImperial University (1886–1897)
Tokyo Imperial University (1897–1947)
ชื่อย่อโทได / 東大, UT
ประเภทรัฐ (ระดับชาติ)
สถาปนา12 เมษายน 1877; 147 ปีก่อน (1877-04-12)
สังกัดวิชาการIARU
AEARU
AGS
BESETOHA
AALAU
Washington University in St. Louis McDonnell International Scholars Academy[1]
อธิการบดีมหาวิทยาลัยTeruo Fujii
อาจารย์3,937 เต็มเวลา (2022)[2]
ผู้ศึกษา28,133 (2022)[3]
excluding research students and auditors
ปริญญาตรี13,962 (2022)[4]
บัณฑิตศึกษา14,171 (2022)[5]
รวมถึงหลักสูตรระดับมืออาชีพ
6,123
ที่ตั้ง, ,
วิทยาเขตเขตเมือง
สีน้ำเงิน  
เว็บไซต์u-tokyo.ac.jp

มหาวิทยาลัยโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京大学/ とうきょう だいがく โรมาจิ: Tōkyō Daigaku ทับศัพท์: โทเกียวไดงะกุ) หรือย่อว่า โทได (ญี่ปุ่น: 東大 โรมาจิ: Tōdai)[6] เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่โตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมาบะ คาชิวะ ชิโรงาเนะ และนากาโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น[7][8] และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3, 1/2, 1/4, 1/5 และ 1/6 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1950, 60', 70', 80' และ 90' ตามลำดับ

มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว

ศูนย์ฮงโงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลัย

ประวัติ

[แก้]
ตึกคณะนิติศาสตร์ในปี 1902, ก่อนที่มันจะถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโต ปี 1923

มหาวิทยาลัยโตเกียวก่อตั้งช่วงยุคสมัยเมจิในปี ค.ศ. 1877 ภายใต้ชื่อปัจจุบันโดยรวมโรงเรียนแพทย์ของรัฐบาลเดิมเข้ากับการเรียนการสอนแบบตะวันตกเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยหลวง (帝國大學 เทโคะกุ ไดงะกุ) ในปีค.ศ. 1886 แล้วเปลี่ยนอีกเป็น "มหาวิทยาลัยจักรพรรดิโตเกียว" (東京帝國大學 โทเกียว เทโคะกุ ไดงะกุ) ในปีค.ศ. 1887 เมื่อระบบเครือมหาวิทยาลัยจักรพรรดิเริ่มก่อสร้างตัวขึ้น

มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเมจิในปี ค.ศ. 1877 ภายใต้ชื่อปัจจุบันด้วยการรวมโรงเรียนรัฐบาลเก่าแก่ด้านการแพทย์ดั้งเดิม และการเรียนรู้สมัยใหม่และได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยหลวง (帝國大學 เทโคะกุ ไดงะกุ) ในปี 1886 จากนั้นเป็น "มหาวิทยาลัยจักรพรรดิโตเกียว" (東京帝國大學 โทเกียว เทโคะกุ ไดงะกุ) ​​ในปี 1897 เมื่อระบบมหาวิทยาลัยของจักรพรรดิถูกสร้างขึ้น ในเดือนกันยายน 1923 แผ่นดินไหวและไฟไหม้ทำลายหนังสือประมาณ 700,000 เล่มของห้องสมุดมหาวิทยาลัย หนังสือที่สูญหายรวมถึงห้องสมุดโฮชิโนะ (星野文庫 โฮชิโนะ บุนโกะ) ซึ่งมีหนังสือประมาณ 10,000 เล่ม หนังสือเป็นสมบัติของ โฮชิโนะ ฮิซาชิ ก่อนที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและส่วนใหญ่เกี่ยวกับปรัชญาและประวัติศาสตร์ของจีน

พอในปี ค.ศ. 1947 หลังจากญี่ปุ่นพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยได้กลับมาใช้ชื่อดั้งเดิมอีกครั้ง และเริ่มต้นระบบมหาวิทยาลัยใหม่ในปี ค.ศ. 1949 โทได หรือ โตไดได้ยุบรวมสถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งแรก (ปัจจุบันคือศูนย์โคมาบะ) และสถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งโตเกียวเดิม เข้าเป็นศูนย์ของมหาวิทยาลัย โดยแบ่งแยกการเรียนการสอนปีแรกและปีที่สองของระดับปริญญาบัณฑิตไว้ที่ศูนย์นี้ หลังจากนั้นพอนักศึกษาขึ้นชั้นปีที่สามจึงย้ายเข้าเรียนที่ศูนย์หลักฮงโงะ

แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะก่อตั้งขึ้นในช่วงสมัยเมจิ แต่ก็มีรากฐานก่อนหน้านี้ในหน่วยงานดาราศาสตร์ (天文方; 1684), สำนักงานการศึกษาโชเฮอิซากะ (昌平坂学問所; 1797) และสำนักงานแปลหนังสือตะวันตก (蕃書和解御用; 1811) สถาบันเหล่านี้เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยโชกุนโทคุงาวะ (1603–1867) และมีบทบาทสำคัญในการนำเข้าและแปลหนังสือจากยุโรป

คิคุจิ ไดโรกุ บุคคลสำคัญในการศึกษาของญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นประธานของมหาวิทยาลัยหลวงโตเกียว

สำหรับโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1964 มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาประเภทปัญจกรีฑาสมัยใหม่

มหาวิทยาลัยโตเกียวเข้าร่วมกับกับสมาพันธ์ความร่วมมือมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กฎหมายใหม่ซึ่งใช้กับมหาวิทยาลัยของรัฐทุกมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 (ออกนอกระบบ)

แม้ว่าจะสมาพันธ์จะมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นอิสระทางการเงินและการบริหาร มหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงถูกควบคุมบางส่วนโดยกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มงบุคางะกุโช หรือ มงกะโช)

เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2012 มหาวิทยาลัย ประกาศว่าจะเปลี่ยนจุดเริ่มต้นของปีการศึกษาตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน เพื่อจัดระเบียบปฏิทินให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล การเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปในช่วงห้าปี แต่ประธานคนเดียวได้รับการประกาศอย่างไม่ดีและมหาวิทยาลัยก็ยกเลิกแผนการดังกล่าว

จากนิตยสารเจแปนไทมส์ ระบุว่ามหาวิทยาลัยมีอาจารย์ 1,282 คนในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 โดยในจำนวนนั้นมี 58 คนเป็นผู้หญิง

ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2012 เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยโตเกียวเริ่มหลักสูตรระดับปริญญาตรีสองหลักสูตร ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดและมุ่งเน้นไปที่นักศึกษาต่างชาติ - หลักสูตรภาษาอังกฤษที่ Komaba (PEAK) - หลักสูตรนานาชาติในสาขาญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออก และหลักสูตรนานาชาติ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ในปี 2014 คณะวิชาวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวได้เปิดตัวหลักสูตรการถ่ายโอนระดับปริญญาตรีภาษาอังกฤษทั้งหมด ที่เรียกว่าหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั่วโลก (GSC)

คณะและบัณฑิตวิทยาลัย

[แก้]
อะกามง (ประตูแดง)

คณะ

[แก้]
  • นิติศาสตร์
  • แพทยศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • มนุษยศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
  • เกษตรศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • ศิลปศาสตร์
  • ศึกษาศาสตร์
  • เภสัชศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัย

[แก้]
  • นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
  • แพทยศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • มานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
  • เกษตรศาสตร์และชีวศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • ศิลปศาสตร์และวิทยาการ
  • ศึกษาศาสตร์
  • เภสัชศาสตร์
  • วิทยาการคณิตศาสตร์
  • วิทยาการล้ำยุค
  • วิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ศึกษาสารสนเทศเชิงบูรณาการ
  • นโยบายสาธารณะ

สถาบันวิจัย

[แก้]
  • สถาบันวิทยาการเวชศาสตร์
  • สถาบันวิจัยแผ่นดินไหว
  • สถาบันวัฒนธรรมตะวันออก
  • สถาบันสังคมศาสตร์
  • สถาบันศึกษาสารสนเทศและการสื่อสารสังคม
  • สถาบันวิทยาการอุตสาหการ
  • สถาบันภูมิประวัติศาสตร์
  • สถาบันเวชศาสตร์โมเลกุลและเซลล์
  • สถาบันวิจัยรังสีคอสมิก
  • สถาบันฟิสิกส์สถานะของแข็ง
  • สถาบันวิจัยมหาสมุทร

คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

นายกรัฐมนตรี

[แก้]
  • ชิเงรุ โยชิดะ (Shigeru Yoshida) (1946-1947,1948-1954)
  • โนบุสุเกะ คิฉิ (Nobusuke Kishi) (1957-1960)
  • เออิซากะ ซาโตะ (Eisaku Sato) (1964-1972)
  • ทาเคโอะ ฟุกุดะ (Takeo Fukuda) (1976-1978)
  • ยาซุฮิโระ นากาโซเนะ (Yasuhiro Nakasone) (1982-1987)
  • คิอิจิ มิยาซาวะ (Kiichi Miyazawa) (1991-1993)

นักวิทยาศาสตร์

[แก้]
  • ทาดาโตชิ อากิบะ (Tadatoshi Akiba)
  • คิโยชิ อิโต (Kiyoshi Itō)
  • เคนกิจิ อิวาซาวะ (Kenkichi Iwasawa)
  • ยาซุมาซะ คานาดะ (Yasumasa Kanada)
  • คุนิฮิโกะ โคไดระ (Kunihiko Kodaira)
  • มิคิโอะ ซาโตะ (Mikio Sato)
  • โกโระ ชิมูระ (Goro Shimura)
  • ยูทากะ ทานิยามะ (Yutaka Taniyama)
  • เทจิ ทากางิ (Teiji Takagi)
  • โทชิยาซุ ลอเรนส์ คุนิอิ (Tosiyasu L. Kunii)

อื่น ๆ

[แก้]

คนไทย

[แก้]
  • ศาสตราจารย์นายแพทย์ สมอาจ วงษ์ขมทอง (Som-Arch WongKhomtong) - อดีตศาสตราจารย์ประจำของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว และ อดีตผอ.สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ดร.ก่องกานดา ชยามฤต - ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ และ อาจารย์พิเศษ ด้านอนุกรมวิธานของพืช อนุกรมวิธานของพืชมีดอก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นาย ปรีชา โชคนำทาง คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • ดร.สุพรรณิกา โพธิเทพ
  • ดร.สุรพงษ์ รัตนกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[9][10]
  • ศ.ดร.สุพจน์ เตชะวรสินสกุล อดีตหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร.ประสงค์ชัย เศรษฐสุรวิชญ์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[11]
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต

สระน้ำซันชิโระ

[แก้]

สระน้ำซันชิโระ ตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัยศูนย์ฮงโงะ ก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1615 หลังจากการพังทลายของปราสาทโอซากะ ท่านโชกุนในสมัยนั้นจึงพระราชทานสระน้ำและสวนรอบ ๆ ให้กับ "มาเอดะ โทชิตสึเนะ" โดย "มาเอดะ สึนาโนริ" เป็นคนพัฒนาสวนเพิ่มเติมจนกลายเป็นสวนที่สวยงามที่สุดใน เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ด้วยภูมิสถาปัตย์แบบดั้งเดิมแปดแบบแบ่งเป็นแปดบริเวณ ส่วนที่มีชื่อเสียงคือสระน้ำเทียม เนินเขา และคุ้มต่าง ๆ แต่เดิมรู้จักกันในชื่อว่า "อิคุโตะกุ เอ็น" ซึ่งหมายถึง"สวนแห่งการเผยแผ่พระธรรม" เส้นรอบขอบของสระน้ำจะเป็นรูปหัวใจหรือ "โคโคโระ" หรือ "ชิน" ดังนั้นชื่ออย่างเป็นทางการจะเรียกว่า "อิคุโตะกุ เอ็น ชินจิอิเกะ" อย่างไรก็ตามผู้คนมักเรียกว่า สระน้ำซันชิโระ หลังจากมีการตีพิมพ์นิยายเรื่องซันชิโระของ "นัตสึเมะ โซเซกิ"

เรื่องแต่งเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยโตเกียว

[แก้]
  • ในการ์ตูนและหนังการ์ตูนเรื่องบ้านพักอลเวง ตัวเอกคือ เคทาโร อุราชิมะ เป็นนักเรียนที่พลาดการสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวหลายหน แต่สอบได้ในท้ายสุด
  • การ์ตูนเรื่อง "นายซ่าส์ท้าเด็กแนว (Dragon Zakura)" เป็นเรื่องเกี่ยวกับทนายความยากจน ซึ่งเคยเป็นสมาชิกก้วนมอเตอร์ไซค์ ซึ่งพยายามสอนนักเรียนผลการเรียนแย่ ๆ ให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวได้จนจบการศึกษา
  • ตัวเอกในเรื่องซูเปอร์แมนของสำนักพิมพ์การ์ตูนดีซี จะเอ่ยถึงเบื้องหลังบ่อย ๆ ว่าเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวตอนเป็นคลาร์ก เคนต์
  • ตัวละครที่เป็นครูและนักตามสาว ชื่อ ซุกุรุ เทชิงาวาระจากการ์ตูนและหนังการ์ตูนชื่อดัง "โอนิสึกะยอดครู" เคยเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวและชอบโม้เรื่องการศึกษาของตนเองบ่อยครั้ง
  • ในอนิเมะเรื่อง Stein;Gate ตัวละคร โอคาเบะ รินทาโร่ กำลังเรียนอยู่ปี1 ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาลัยแห่งนี้

มหาวิทยาลัยโตเกียวในงานเขียน

[แก้]
  • มานาบุ มิยาซากิ (Manabu Miyazaki), ทปปะโมโนะ: นอกกฎ เหยียดผิว เคลือบแคลง ชีวิตของฉันในโลกมืดที่ญี่ปุ่น. (2005, สำนักพิมพ์โคตัน (Kotan Publishing), ISBN 0-9701716-2-5.)

อันดับมหาวิทยาลัย

[แก้]
อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
QS WORLD (2019) 1 (23)
ARWU World 1 (25)
THE World 1 (27)

ใน ค.ศ. 2005 มหาวิทยาลัยโตเกียวได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 1 ในเอเชีย[12] จากการจัดอันดับสถาบันในระดับอุดมศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง ประเทศจีน

ใน ค.ศ. 2011 มหาวิทยาลัยโตเกียวได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 8 ของโลกที่มีชื่อเสียงโด่งดัง[13] จากการจัดอันดับสถาบันในระดับอุดมศึกษาโดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ ประเทศอังกฤษ

ใน ค.ศ. 2011-2012 มหาวิทยาลัยโตเกียวได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 1 ในเอเชีย[14] จากการจัดอันดับสถาบันในระดับอุดมศึกษาโดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ ประเทศอังกฤษ

จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคอกโครัลลีไซมอนส์ประจำปี 2019 ได้จัดลำดับให้มหาวิทยาลัยโตเกียวอยู่ในอันดับที่ 23 ของโลก อันดับที่ 4 ของทวีปเอเชีย และอันดับที่ 1 ของประเทศญี่ปุ่น[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "MCDNNELL ACADEMY". global.wustl.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-10-29.
  2. "教職員数(令和4年5月1日現在) - 常勤教員(教授~助手の計)". 東京大学. 1 May 2022.(ในภาษาญี่ปุ่น)
  3. Details on the number of students "学生数の詳細について - 在籍者". u-tokyo.ac.jp. สืบค้นเมื่อ 19 August 2022.(ในภาษาญี่ปุ่น)
  4. The number of regular students, research students and auditors 令和4年5月1日現在 学部学生・研究生・聴講生数調 - 在籍者(ในภาษาญี่ปุ่น)
  5. The number of graduate students, research students and international research students 令和4年5月1日現在 大学院学生・研究生・外国人研究生数調 - 在籍者(ในภาษาญี่ปุ่น)
  6. "What is Todai?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-08. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  7. The School and the University. University of California Press. 1985. p. 156. ISBN 0-520-05423-7.
  8. Lincoln, Edward J. (2001). Arthritic Japan: the slow pace of economic reform. Brookings Institution Press. p. 148. ISBN 0815700733.
  9. blog, Just a PhD (2016-04-25). "ดร.สุรพงษ์ รัตนกุล :: คอลัมน์แขกรับเชิญ :: คุยเรื่องเรียนด๊อกเตอร์กับด๊อกเตอร์". ก็แค่ปริญญาเอก. สืบค้นเมื่อ 2020-12-31.
  10. "About Us". env.kmutt.ac.th (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-31.
  11. "วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : College of Politics and Governance, Mahasarakham University". copag.msu.ac.th.
  12. หนึ่งร้อยอันดับแรกมหาวิทยาลัยในเอเชียแปซิฟิก เก็บถาวร 2006-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (ค.ศ. 2005)
  13. อันดับมหาวิทยาลัย 2011-2012 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังของโลก โดย Thomson Reuters (ค.ศ. 2012)
  14. อันดับมหาวิทยาลัยในเอเชีย 2011-2012 เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย Thomson Reuters (ค.ศ. 2012)
  15. http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2019#sorting=rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]