รัศมีโลก
รัศมีโลก | |
---|---|
ภาพตัดภายในโลก | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ระบบการวัด | ดาราศาสตร์, ธรณีฟิสิกส์ |
เป็นหน่วยของ | ความยาว |
สัญลักษณ์ | R🜨 หรือ , |
การแปลงหน่วย | |
1 R🜨 ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
หน่วยเอสไอ | 6.3781×106 m[1] |
รัศมีโลก (อังกฤษ: Earth radius) ที่ใช้ในภูมิมาตรศาสตร์และดาราศาสตร์นั้นปกติจะหมายถึงค่ารัศมีที่เส้นศูนย์สูตรของโลก ค่านี้มีนิยามต่างกันไป เช่น ค่าตามการวัดจริง และค่าที่กำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อใช้เป็นหน่วยวัดความยาว
รัศมีที่ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการสำรวจทางภูมิศาสตร์
[แก้]ค่าของรัศมีที่เส้นศูนย์สูตรของโลกที่ใช้ในทรงรีโลกมาตรฐาน GRS80 และทรงรีโลกมาตรฐาน WGS84 ซึ่งเป็นมาตรฐานของการสำรวจทางธรณีวิทยาคือ
- 6378137 m
ค่ารัศมีที่กำหนดเป็นทางการ
[แก้]ในสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 24 ในปี 2015 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้นิยามค่ารัศมีเส้นศูนย์สูตรและตามแนวขั้วโลก[2] รัศมีเส้นศูนย์สูตรที่ระบุนี้ใช้เป็นหน่วยวัดความยาวในทางดาราศาสตร์
- รัศมีเส้นศูนย์สูตรของโลกที่กำหนดใช้ () = 6378.1 กม.
- รัศมีขั้วโลกที่กำหนดใช้ () = 6356.8 กม.
รัศมีเส้นศูนย์สูตรที่กำหนดใช้นี้ใช้สำหรับการเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์นอกระบบ โดยเฉพาะที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงโลกเป็นหลัก ค่ารัศมีนี้อาจถูกแปลงเป็นหน่วยอื่นได้ดังต่อไปนี้
- 0.08921 รัศมีดาวพฤหัสบดี (RJ)
- 0.009164 รัศมีดวงอาทิตย์ (R☉, Ro)
รัศมีตามการวัดจริง
[แก้]ในเดือนสิงหาคม 1999 คณะกรรมการเฉพาะกิจครั้งที่ 3 ของสมาคมภูมิศาสตร์สากล (IAG) ได้ระบุค่าล่าสุดที่ใช้งานไว้เป็นดังนี้[3]
- 6378136.59±0.10 m (tide-free system: ไม่พิจารณาความเปลี่ยนแปลงจากน้ำขึ้นน้ำลง)
- 6378136.62±0.10 m (zero-frequency tide system: ไม่พิจารณาความเปลี่ยนแปลงจากน้ำขึ้นน้ำลงโดยตรง แต่ยังพิจารณารวมผลโดยอ้อม)
USNO และ HMNAO ใช้ค่าต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าคงที่ทางดาราศาสตร์ (K6)[4]
- 6378136.6±0.1 m
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mamajek, E. E; Prsa, A; Torres, G; และคณะ (2015). "IAU 2015 Resolution B3 on Recommended Nominal Conversion Constants for Selected Solar and Planetary Properties". arXiv:1510.07674 [astro-ph.SR].
- ↑ Resolution B3 on recommended nominal conversion constants for selected solar and planetary properties IAU 2015 Resolution B3, XXIXth IAU General Assembly in Honolulu, 13 August 2015
- ↑ 理科年表、2022、p.601、丸善
- ↑ ASTRONOMICAL CONSTANTS K6 เก็บถาวร 2022-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1.5 Body Constants, Equatorial radius for Earth, USNO, 2018