ข้ามไปเนื้อหา

สถาปนิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาปนิก
อาชีพ
ประเภทอาชีพ
วิชาชีพ
กลุ่มงาน
สถาปัตยกรรม

วิศวกรรมศาสตร์โยธา การก่อสร้าง การวางผังเมือง การออกแบบภายใน

ทัศนศิลป์
รายละเอียด
ความสามารถการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถทางศิลปะ
สถานที่
ปฏิบัติงาน
สตูดิโอออกแบบ หน่วยงานที่ว่าจ้าง
อาชีพที่เกี่ยวข้อง
มัณฑกร
ภาพร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ

สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น

สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง

รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"

สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

[แก้]

สถาปนิกในประเทศไทย

[แก้]

สถาปนิกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

สถาปนิกที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ

สถาปนิกที่เป็นกรรมการสภาสถาปนิก


รายชื่อสถาปนิกที่คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในบทความ "Reinvent" จำนวน 23 ท่าน[1]

อื่นๆ

สถาปนิกจากต่างประเทศ

[แก้]




ร่วมสมัย (คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21)

[แก้]

สถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย

[แก้]

สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตสถาปนิกของประเทศไทยแห่งแรก คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอาจารย์นารถ โพธิประสาท ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2498 ได้มีการเปิดสอนคณะสถาปัตยกรรมไทย ปัจจุบัน คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากนั้น ได้มีการสถาปนา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขึ้น ซึ่งมี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคณะแรกของสถาบัน และนับเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตสถาปนิกเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปี พศ 2531 จากนั้น ก็ได้มีสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเปิดสอนเป็นจำนวนมากดังปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]