สภายุโรป
ตราสัญลักษณ์ | |
ธง | |
ก่อตั้ง | สนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1949 |
---|---|
ประเภท | องค์การระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาค |
สํานักงานใหญ่ | สทราซบูร์ ประเทศฝรั่งเศส |
ที่ตั้ง | |
สมาชิก |
|
ภาษาทางการ | อังกฤษ, ฝรั่งเศส ภาษาอื่นที่ใช้: เยอรมัน, อิตาลี[1][2] |
เลขาธิการ | Thorbjørn Jagland |
รองสมัชชา | Gabriella Battaini-Dragoni |
ประธานรัฐสภาสมัชชา | Anne Brasseur |
ประธานคณะกรรมการรัฐมนตรี | Edmond Panariti |
ประธานรัฐสภา | Jean-Claude Frécon |
เว็บไซต์ | www |
สภายุโรป[3] (อังกฤษ: Council of Europe, CoE; ฝรั่งเศส: Conseil de l'Europe, CdE) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาค (regional intergovernmental organisation) ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม ในรัฐสมาชิก 46 รัฐที่มีประชากรรวมกัน 675 ล้านคน เป็นองค์กรต่างหากจากสหภาพยุโรปที่มีสมาชิก 27 ประเทศ ซึ่งมักจะสับสนกันโดยส่วนหนึ่งก็เพราะใช้ธงยุโรปเหมือนกัน แต่สภายุโรปไม่สามารถออกกฎหมายที่บังคับใช้ได้โดยไม่เหมือนกับสหภาพยุโรป
ส่วนของสภายุโรปที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Court of Human Rights) ซึ่งตัดสินคดีตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Convention on Human Rights) งานของสภายุโรปมีผลเป็นมาตรฐาน กฎบัตร และอนุสัญญาที่อำนวยความร่วมมือกันระหว่างประเทศยุโรปโดยเป็นองค์กรที่ให้คำแนะนำ
ส่วนของสภาตามกฎหมายก็คือ คณะรัฐมนตรี (Committee of Ministers) ที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ และสมัชชารัฐสภา (Parliamentary Assembly) ซึ่งประกอบด้วยรัฐสภาแห่งชาติของรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ ส่วนกรรมาธิการเพื่อสิทธิมนุษยชน (Commissioner for Human Rights) เป็นสถาบันอิสระภายในสภายุโรป โดยได้รับมอบหมายให้โปรโมตความสำนึกและความเคารพในสิทธิมนุษยชนในรัฐสมาชิก ส่วนเลขาธิการแห่งสภายุโรป (Secretary General of the Council of Europe) เป็นหัวหน้ากองเลขาธิการขององค์การ
สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองสทราซบูร์ ประเทศฝรั่งเศส ภาษาทางการขององค์การคือภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ว่าคณะรัฐมนตรี สมัชชารัฐสภา และ Congress of the Council of Europe ก็ใช้ภาษาเยอรมัน อิตาลี ตุรกี รัสเซียในงานบางอย่างด้วยเหมือนกัน[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Did you know?". สืบค้นเมื่อ 10 August 2018.
English and French are the official languages of the Council of Europe. German, Italian and Russian are used as working languages.
- ↑ "Resolution 2208 (2018): Modification of the Assembly's Rules of Procedure: the impact of the budgetary crisis on the list of working languages of the Assembly". สืบค้นเมื่อ 10 August 2018.
The draconian reduction in the Assembly’s budget for 2018 and 2019, a consequence of Turkey’s decision to revert to its initial status of ordinary contributor to the Council of Europe budget, calls for drastic measures. ... In this context, the Assembly refers to the clear position it adopted, notably in Resolution 2058 (2015) on the allocation of seats in the Parliamentary Assembly with respect to Turkey, making the introduction of Turkish as a working language of the Assembly strictly conditional upon the Committee of Ministers' decision to approve Turkey’s request to become a major contributor to the Council of Europe’s budget and to allocate the corresponding funds to the Assembly.
- ↑ "Council of Europe", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(รัฐศาสตร์) สภายุโรป
- ↑ "The allocation of seats in the Parliamentary Assembly with respect to Turkey". assembly.coe.int. สืบค้นเมื่อ 2016-01-26.
The working languages in the Assembly shall be German, Italian, Russian and Turkish
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- General Agreement on Privileges and Immunities of the Council of Europe, Paris, 2 September 1949