ข้ามไปเนื้อหา

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยม
โซเวียตรัสเซีย
Российская Советская Федеративная Социалистическая Республика
Rossiyskaya Sovetskaya Federativnaya Sotsialisticheskaya Respublika

1917–1991
ธงชาติรัสเซียโซเวียต
ธง
(1954–1991)
คำขวัญชนกรรมาชีพทั่วโลกจงสามัคคีกัน!
Пролетарии всех стран, соединяйтесь!
Proletarii vsekh stran, soyedinyaytes'! (tr.)
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (แดง) ในสหภาพโซเวียต (แดงและขาว) ในช่วง ค.ศ. 1956 ถึง 1991
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (แดง) ในสหภาพโซเวียต (แดงและขาว) ในช่วง ค.ศ. 1956 ถึง 1991
สถานะ
เมืองหลวง
เมืองใหญ่สุดมอสโก
ภาษาราชการภาษารัสเซียb
ดูภาษาในประเทศรัสเซีย
ศาสนา
เดมะนิมชาวรัสเซีย
การปกครอง
ประมุขแห่งรัฐ 
• 1917 (คนแรก)
เลฟ คาเมเนฟc
• 1990–1991 (คนสุดท้าย)
บอริส เยลต์ซินd
หัวหน้ารัฐบาล 
• 1917–1924 (คนแรก)
วลาดีมีร์ เลนินe
• 1990–1991
อีวัน ซีลาเยฟf
• 1991 (คนสุดท้าย)
บอริส เยลต์ซินg
สภานิติบัญญัติ
ประวัติศาสตร์ 
7 พฤศจิกายน 1917
30 ธันวาคม ค.ศ. 1922
19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954
12 มิถุนายน ค.ศ. 1990
12 ธันวาคม ค.ศ. 1991
• เปลี่ยนชื่อจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียเป็นสหพันธรัฐรัสเซีย
25 ธันวาคม ค.ศ. 1991
26 ธันวาคม 1991
25 ธันวาคม ค.ศ. 1993
พื้นที่
1956[ต้องการอ้างอิง]17,125,200 ตารางกิโลเมตร (6,612,100 ตารางไมล์)
ประชากร
147,386,000
สกุลเงินรูเบิลโซเวียต (Rbl)h (SUR)
เขตเวลา(UTC +2 ถึง +12)
รหัสโทรศัพท์+7
รหัส ISO 3166RU
โดเมนบนสุด.su
ก่อนหน้า
ถัดไป
1918
สาธารณรัฐรัสเซีย
1920
รัฐรัสเซีย
1922
สาธารณรัฐตะวันออกไกล
1923
รัฐบาลปรีอามูร์เย
1944
สาธารณรัฐประชาชนตูวา
1946
ปรัสเซียตะวันออก
ญี่ปุ่น
1956
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช
1918
สาธารณรัฐประชาชนยูเครน
ลิทัวเนีย
เอสโตเนีย
สาธารณรัฐประชาชนเบลารุส
สาธารณรัฐลัตเวียที่หนึ่ง
1922
สหภาพโซเวียต
1940
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช
1991
สหพันธรัฐรัสเซีย
  1. ยังคงเป็นเพลงชาติรัสเซียจนถึง ค.ศ. 2000
  2. ภาษาทางการในศาลตั้งแต่ ค.ศ. 1937.[4]
  3. ในฐานะประธาน VTsIK (All-Russian Central Executive Committee).
  4. ในฐานะประธานรัฐสภาโซเวียตแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ถึง 10 กรกฎาคม ค.ศ 1991 ในเวลานั้นเป็นตำแหน่งประธานาธิบดี
  5. ในฐานะประธานคณะกรรมการราษฎรของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย
  6. ในฐานะประธานคณะมนตรีบริหาร – รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย
  7. ประธานาธิบดีรัสเซียที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลรักษาการ
  8. ในช่วง ค.ศ. 1917 ถึง 1919 สกุลเงินรูเบิลจักรวรรดิสูญเสียมูลค่าทั้งหมดเนื่องจากการตีพิมพ์ธนบัตรมากเกิน ภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้รูเบิลโซเวียตใหม่[5]
รางวัลวีรนคร 7 เหรียญ
สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยรัสเซียปรากฏขึ้นช่วงหนึ่งในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1918 แต่อำนาจอธิปไตยจริง ๆ ยังคงเป็นของโซเวียตแม้แต่หลังเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญของรัสเซียในสมัยแรกถึงสมัยสุดท้ายใน ค.ศ. 1918 ก็ตาม[6]

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (รัสเซีย: Российская Советская Федеративная Социалистическая Республика, อักษรโรมัน: Rossíyskaya Sovétskaya Federatívnaya Socialistíčeskaya Respúblika, สัทอักษรสากล: [rɐˈsʲijskəjə sɐˈvʲetskəjə fʲɪdʲɪrɐˈtʲivnəjə sətsɨəlʲɪˈsʲtʲitɕɪskəjə rʲɪˈspublʲɪkə] ( ฟังเสียง); อังกฤษ: Russian Soviet Federative Socialist Republics, RSFSR) อดีตมีชื่อเรียกว่า สาธารณรัฐโซเวียตรัสเซีย[7] และมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า รัสเซียโซเวียต[8] สหพันธรัฐรัสเซีย หรือเรียกสั้นเพียง รัสเซีย เป็นสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีประชากรมากที่สุด และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูงสุดในอดีตสหภาพโซเวียต

หลายคนมักเข้าใจว่าสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียกับสหภาพโซเวียตเป็นชื่อประเทศเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ช่วงเริ่มแรก (ค.ศ. 1917–1920)

[แก้]

รัฐบาลโซเวียตขึ้นสู่อำนาจครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 หลังจากที่รัฐบาลชั่วคราวรัสเซียภายใต้การนำของ อะเลคซันดร์ เคเรนสกี ซึ่งปกครองสาธารณรัฐรัสเซีย ถูกโค่นล้มในการปฏิวัติเดือนตุลาคม โดยถือเป็นการปฏิวัติรัสเซียครั้งที่สอง เนื่องจากสถานภาพของรัฐยังไม่ชัดเจน ทำให้โซเวียตรัสเซียไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากประเทศเพื่อนบ้านอีกเป็นเวลาห้าเดือน

เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1918 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ออกกฤษฎีกาประกาศให้รัสเซียเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย ภายใต้ชื่อ "สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยรัสเซีย" อย่างไรก็ตาม บอลเชวิคได้กระทำการยุบสภาในวันรุ่งขึ้นและประกาศให้กฤษฎีกานี้เป็นโมฆะ[9]

เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1918 ในการประชุมครั้งที่สามของรัฐสภารัสเซียทั้งปวง รัสเซียที่ไม่ได้รับการยอมรับถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "สาธารณรัฐโซเวียตรัสเซีย"[7] เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1918 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ โดยเป็นการมอบดินแดนส่วนหนึ่งที่เดิมเป็นของจักรวรรดิรัสเซียให้แก่จักรวรรดิเยอรมัน เพื่อแลกกับสันติภาพบนแนวรบด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 รัฐธรรมนูญรัสเซียฉบับ ค.ศ. 1918 ได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย"[10] ใน ค.ศ. 1918 ระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย หลายรัฐที่เคยอยู่ภายใต้อดีตจักรวรรดิรัสเซียได้แยกตัวเป็นอิสระจากกัน ทำให้ขนาดของประเทศลดน้อยลงไปอีก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Arthur Ransome (16 March 1918). "Lenine's Migration A Queer Scene". เก็บถาวร 16 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The New York Times.
  2. Historical Dictionary of Socialism. James C. Docherty, Peter Lamb. Page 85. "The Soviet Union was a one-party Marxist-Leninist state."
  3. "Law of the USSR of 14 March 1990 N 1360-I 'On the establishment of the office of the President of the USSR and the making of changes and additions to the Constitution (Basic Law) of the USSR'". Garant.ru. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2010.
  4. article 114 of the 1937 Constitution, article 171 of the 1978 Constitution
  5. R. W. Davies; Mark Harrison; S. G. Wheatcroft (9 December 1993). The Economic Transformation of the Soviet Union, 1913–1945. Cambridge University Press. p. 6. ISBN 978-0-521-45770-5.
  6. Riasanovsky, Nicholas (2000). A History of Russia (sixth ed.). Oxford University Press. p. 458. ISBN 0-19-512179-1.
  7. 7.0 7.1 Конституции РСФСР 1918 г. เก็บถาวร 2 กรกฎาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษารัสเซีย). Hist.msu.ru. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2011.
  8. Declaration of Rights of the laboring and exploited people (original VTsIK variant เก็บถาวร 7 สิงหาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, III Congress revision), article I.
  9. Ikov, Marat Sal. "Round Table the Influence Of National Relations on the Development of the Federative State Structure and on the Social and Political Realities of the Russian Federation". Prof.Msu.RU. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2021.
  10. Soviet Russia information เก็บถาวร 26 สิงหาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Russians.net (23 สิงหาคม 1943). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]