ข้ามไปเนื้อหา

สื่อสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สื่อสังคม หรือ โซเชียลมีเดีย (อังกฤษ: social media) หมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สื่อเหล่านี้เป็นของบริษัทต่าง ๆ ที่ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของตน เช่น เฟซบุ๊ก ไฮไฟฟ์ ทวิตเตอร์ วิกิพีเดีย เป็นต้น[1]

ในทางเทคนิค สื่อสังคมจะหมายถึงโปรแกรมกลุ่มหนึ่งที่ทำงานโดยใช้พื้นฐานและเทคโนโลยีของเว็บ 2.0 เช่น บีโบ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ฯลฯ นอกจากจะใช้เพื่อการส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันแล้ว เทคโนโลยีสื่อสังคมยังช่วยให้เหล่าผู้ใช้สามารถทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันด้วย กลุ่มบุคคลที่ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคมดังกล่าว เรียกว่า "เครือข่ายสังคม" (social network)[2] ในเครือข่ายสังคม กลุ่ม “เพื่อน” หรือ “ผู้ติดต่อกัน” มักจะแลกเปลี่ยนบทสนทนากันอย่างสั้น ๆ และเป็นกันเอง. โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมจะเปิดโอกาสให้กลุ่มเพื่อน ๆ วิพากษ์วิจารณ์กันเองได้ ส่งข้อความส่วนตัว และเข้าไปอ่านข้อความของเพื่อน ๆ ในกลุ่มได้ ซอฟต์แวร์บางประเภทจะสามารถให้เพื่อน ๆ เพิ่มเสียงและภาพเคลื่อนไหวลงในประวัติของตนได้ด้วย นอกจากนี้ เพื่อนบางคนก็อาจจะสร้างโปรแกรมย่อย ๆ ขึ้นมาให้ใช้ร่วมกันได้ เช่น เล่นเกม ถามปัญหา หรือปรับแต่งรูปภาพ ทำให้บางคนมีผู้สมัครเข้ามาเป็นเพื่อนด้วยมากมาย[3][4]

ในทางธุรกิจเรียกสื่อสังคมว่า สื่อที่ผู้บริโภคสร้างขึ้น (อังกฤษ: consumer-generated media หรือ CGM) สำหรับกลุ่มบุคคลผู้ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคม ซึ่งนอกจากจะส่งข่าวสารข้อมูลแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังอาจทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันได้ด้วย[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อารี พลดี, บ.ก. (2013-10-04). "สื่อสังคม (๔ ตุลาคม ๒๕๕๖)". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 2019-09-07.
  2. Kaplan, Andreas M.; Haenlein, Michael (2010). "Users of the world, unite! The challenges and opportunities of social media". Business Horizons. Bloomington, Indiana: Kelley School of Business. 53 (1): 61, 64–65, 67. doi:10.1016/j.bushor.2009.09.003. S2CID 16741539. สืบค้นเมื่อ 2019-04-28. Social Media is a very active and fast-moving domain. What may be up-to-date today could have disappeared from the virtual landscape tomorrow. It is therefore crucial for firms to have a set of guidelines that can be applied to any form of Social Media [...].
  3. Dennis, Amy (July 5, 2017). "5 Social Media Outlets Ruling the World". Nice Branding Agency. สืบค้นเมื่อ October 10, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Obar, Jonathan A.; Wildman, Steve (2015). "Social media definition and the governance challenge: An introduction to the special issue". Telecommunications Policy. 39 (9): 745–750. doi:10.2139/ssrn.2647377. SSRN 2647377.
  5. "สื่อสังคม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.