ข้ามไปเนื้อหา

สุนทร คงสมพงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุนทร คงสมพงษ์
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี
ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
23 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม พ.ศ. 2534
(0 ปี 6 วัน)
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าชาติชาย ชุณหะวัณ
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปอานันท์ ปันยารชุน
(นายกรัฐมนตรี)
หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 7 เมษายน พ.ศ. 2535
(1 ปี 42 วัน)
รองพล.อ. สุจินดา คราประยูร
พล.ร.อ. ประพัฒน์ กฤษณจันทร์
พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล
พล.ต.อ. สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด [1]
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534
(1 ปี 184 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ถัดไปพลเอก สุจินดา คราประยูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2474
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต2 สิงหาคม พ.ศ. 2542 (68 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรส
  • อรชร คงสมพงษ์ (หย่า)
  • อัมพาพันธ์ ธเนศเดชสุนทร
บุตร
บุพการี
  • ศุภชัย คงสมพงษ์ (บิดา)
  • ลมูล คงสมพงษ์ (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด
ประจำการพ.ศ. 2497–2534
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก[2]
นายกองเอก
ผ่านศึกสงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม

พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว. อ.ร. (1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542) ชื่อเล่น จ๊อด เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก่อรัฐประหาร พ.ศ. 2534

ประวัติ

[แก้]

พล.อ. สุนทร เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 1 รุ่นเดียวกับ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ จากนั้น รับราชการทหารมาโดยตลอด เคยดำรงตำแหน่งสำคัญคือ ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดพล.อ.สุนทร สมรสกับพ.อ.หญิง คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์ มีบุตรสองคน ซึ่งได้แก่

  1. พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (รองเลขาธิการพระราชวัง)
  2. พล.ต. ณัฐพร คงสมพงษ์[3]

ต่อมาได้แยกทางกันเมื่อ พ.ศ. 2533 หลังจาก พล.อ. สุนทร ใช้ชีวิตร่วมกับนางอัมพาพันธ์ ธเนศเดชสุนทร (อรุณเมือง, คงสมพงษ์, คงทรนง)

พล.อ. สุนทร มีบุคลิกส่วนตัวคือ ชอบแต่งกายรัดรูป จนได้ฉายาว่า "นายพลเสื้อคับ" ชอบสูบบุหรี่จัด บุคลิกโผงผาง เสียงดัง มีคติประจำตัวว่า " ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน " เวลาไปราชการนิยมขับเฮลิคอปเตอร์ด้วยตนเองอยู่เสมอ

รัฐประหาร

[แก้]

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะนายทหารนำโดย

  1. พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, หัวหน้ารสช.
  2. พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก, รองหัวหน้ารสช.
  3. พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก, รองหัวหน้ารสช.
  4. พล.ร.อ. ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ, รองหัวหน้ารสช.
  5. พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ, รองหัวหน้ารสช.
  6. พล.ต.อ. สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ, รองหัวหน้ารสช.

ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นนายทหารที่อาวุโสสูงสุด จึงได้รับที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

ภายหลังเกษียณอายุราชการ พล.อ. สุนทร ไปเปิดกิจการร้านอาหารที่ปารีส ฝรั่งเศส โดยมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมือง หรือเปิดเผยตัวต่อที่สาธารณะ ก่อนจะกลับมาเมืองไทยและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ด้วยโรคมะเร็งปอด สิริอายุ 68 ปี 1 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

ยศกองอาสารักษาดินแดน

[แก้]

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน เป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองเอก สุนทร คงสมพงษ์ [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[5] ดังนี้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2513 – แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาร์ม[17]
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
  •  สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญบรอนซ์สตาร์ ประดับ วี[18]
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก) ประดับ วี และใบโอ๊ค[18]
  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์หยาง มูเลีย เซเตีย มาห์โกตา มาเลเซีย ชั้นที่ 2[19]
    • พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[20]
  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2534 – เครื่องอิสริยาภรณ์สดุดีการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ชั้นที่ 1[21]
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญราชการสงครามเกาหลี

อ้างอิง

[แก้]
  1. ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  3. โปรดเกล้าฯพระราชทานยศ 221 ทหาร ลาออกก่อนเกษียณ
  4. ได้รับพระราชทานยศนายกกอง
  5. "ข่าวในพระราชสำนัก [18-23 ตุลาคม 2542]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (19ง): 135. 7 มีนาคม 2543. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๒๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๖ ง หน้า ๒๗๒๔, ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
  17. "ประวัติพลเอกสุนทร คงสมพงษ์". มูลนิธิพลเอก สุนทร คงสมพงษ์.
  18. 18.0 18.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 105 ตอนที่ 173 ฉบับพิเศษ หน้า 1, 26 ตุลาคม 2531
  19. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1987.
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 118 ตอนที่ 167 หน้า 9297, 24 กันยายน 2534
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 108 ตอนที่ 18 หน้า 1173, 5 กุมภาพันธ์ 2534
  22. CHIEF OF DEFENCE FORCE OF SINGAPORE ARMED FORCES LIEUTENANT-GENERAL WINSTON CHOO AND SUPREME COMMANDER OF THE ROYAL THAI ARMED FORCES, GENERAL SUNDHARA KONGSOMPONG DURING HIS CONFERMENT OF THE DISTINGUISHED SERVICE ORDER (MILITARY) AT THE ISTANA
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 109 ตอนที่ 27 หน้า 2237, 25 กุมภาพันธ์ 2535

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สุนทร คงสมพงษ์ ถัดไป
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 เมษายน พ.ศ. 2533 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534)
พลเอก สุจินดา คราประยูร