อหิวาตกโรค
อหิวาตกโรค (Cholera) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Asiatic cholera, epidemic cholera[1] |
ผู้ป่วยอหิวาตกโรคมีภาวะขาดน้ำรุนแรง เห็นได้จากมีตาลึกโหล มือเหี่ยวแห้ง | |
สาขาวิชา | Infectious disease |
อาการ | Large amounts of watery diarrhea, vomiting, muscle cramps[2][3] |
ภาวะแทรกซ้อน | Dehydration, electrolyte imbalance[2] |
การตั้งต้น | 2 hours to 5 days after exposure[3] |
ระยะดำเนินโรค | A few days[2] |
สาเหตุ | Vibrio cholerae spread by fecal-oral route[2][4] |
ปัจจัยเสี่ยง | Poor sanitation, not enough clean drinking water, poverty[2] |
วิธีวินิจฉัย | Stool test[2] |
การป้องกัน | Improved sanitation, clean water, hand washing, cholera vaccines[2][5] |
การรักษา | Oral rehydration therapy, zinc supplementation, intravenous fluids, antibiotics[2][6] |
ความชุก | 3–5 million people a year[2] |
การเสียชีวิต | 28,800 (2015)[7] |
อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า[8] (อังกฤษ: cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้
ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่วย
พ.ศ. 2553 มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคทั่วโลกประมาณ 3-5 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 100,000-130,000 คนต่อปี โรคนี้เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อโรคแรก ๆ ที่มีการศึกษาด้วยวิธีทางระบาดวิทยา
สาเหตุ
[แก้]เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอ คอเลอเร (Vibrio Cholerae) sero group O1, หรือ O139, biotypes Classical และ เอลเทอร์ (EL Tor) วิบริโอ El Tor แต่ละ biotype มี serotypes inaba, Ogawa และ Hikojima (พบน้อยมาก)
การถ่ายทอดโรค
[แก้]โดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ ซึ่งเกิดจากการจากอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วย แพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค
ระยะเวลาฟักตัว
[แก้]ผู้ที่ได้รับเชื้อ จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการภายใน 1 - 2 วัน
อาการ
[แก้]- เป็นอย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียนได้
- เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1 - 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการท้องเสีย
[แก้]- งดอาหารที่มีรสจัดหรือเผ็ดร้อน หรือ ของหมักดอง
- ดื่มน้ำชาแก่แทนน้ำ บางรายต้องงดอาหารชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้
- ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์
- ถ้าท้องเสียอย่างรุนแรง ต้องรีบนำส่งแพทย์ด่วน
การป้องกัน
[แก้]- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นาน ๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม
- ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังขับถ่าย
- ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรื่ยราด ต้องถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยการเผาหรือฝังดิน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
- ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค
- สำหรับผู้ที่สัมผัสโรคนี้ ควรรับประทานยาที่แพทย์ให้จนครบ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Todar K. "Vibrio cholerae and Asiatic Cholera". Todar's Online Textbook of Bacteriology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2010-12-20.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Cholera vaccines: WHO position paper" (PDF). Weekly Epidemiological Record. 85 (13): 117–28. March 2010. PMID 20349546. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2015.
- ↑ 3.0 3.1 "Cholera – Vibrio cholerae infection Information for Public Health & Medical Professionals". Centers for Disease Control and Prevention. January 6, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 17 March 2015.
- ↑ Finkelstein, Richard A. (1996). "Cholera, Vibrio cholerae O1 and O139, and Other Pathogenic Vibrios". ใน Baron, Samuel (บ.ก.). Medical Microbiology (4th ed.). University of Texas Medical Branch at Galveston. ISBN 978-0-9631172-1-2. PMID 21413330. NBK8407.
- ↑ Harris JB, LaRocque RC, Qadri F, Ryan ET, Calderwood SB (June 2012). "Cholera". Lancet. 379 (9835): 2466–2476. doi:10.1016/s0140-6736(12)60436-x. PMC 3761070. PMID 22748592.
- ↑ "Cholera – Vibrio cholerae infection Treatment". Centers for Disease Control and Prevention. November 7, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2015. สืบค้นเมื่อ 17 March 2015.
- ↑ Wang, Haidong; Naghavi, Mohsen; Allen, Christine; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Zian; Coates, Matthew M.; Coggeshall, Megan; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Foreman, Kyle; Forouzanfar, Mohammad H.; Fraser, Maya S.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Huynh, Chantal; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kinfu, Yohannes; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
- ↑ อัลบี, ซาร่าห์. ธวัชชัย ดุลยสุจริต, แปล. อึ เล่าประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. ISBN 978-974-02-0847-1. หน้า 130.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Arnold, David (1986). "Cholera and Colonialism in British India". Past & Present. 113 (113): 118–151. doi:10.1093/past/113.1.118. JSTOR 650982. PMID 11617906.
- Azizi, MH; Azizi, F (January 2010). "History of Cholera Outbreaks in Iran during the 19th and 20th Centuries". Middle East Journal of Digestive Diseases. 2 (1): 51–55. PMC 4154910. PMID 25197514.
- Bilson, Geoffrey. A Darkened House: Cholera in Nineteenth-Century Canada (U of Toronto Press, 1980).
- Cooper, Donald B. (1986). "The New 'Black Death': Cholera in Brazil, 1855-1856". Social Science History. 10 (4): 467–488. doi:10.2307/1171027. JSTOR 1171027. PMID 11618140.
- Echenberg, Myron (2011). Africa in the Time of Cholera: A History of Pandemics from 1817 to the Present. ISBN 978-0-521-18820-3.
- Evans, Richard J. (1988). "Epidemics and Revolutions: Cholera in Nineteenth-Century Europe". Past & Present. 120 (120): 123–146. doi:10.1093/past/120.1.123. JSTOR 650924. PMID 11617908.
- Evans, Richard J. (2005). Death in Hamburg: Society and Politics in the Cholera Years. ISBN 978-0-14-303636-4.
- Gilbert, Pamela K. Cholera and Nation: Doctoring the Social Body in Victorian England" (SUNY Press, 2008).
- Hamlin, Christopher (2009). Cholera: The Biography. Oxford University Press.
- Huber, Valeska (November 2020). "Pandemics and the politics of difference: rewriting the history of internationalism through nineteenth-century cholera". Journal of Global History. 15 (3): 394–407. doi:10.1017/S1740022820000236. S2CID 228940685.
- Huber, Valeska (June 2006). "THE UNIFICATION OF THE GLOBE BY DISEASE? THE INTERNATIONAL SANITARY CONFERENCES ON CHOLERA, 1851–1894". The Historical Journal. 49 (2): 453–476. doi:10.1017/S0018246X06005280. S2CID 162994263.
- Jenson, Deborah; Szabo, Victoria (November 2011). "Cholera in Haiti and Other Caribbean Regions, 19th Century". Emerging Infectious Diseases. 17 (11): 2130–2135. doi:10.3201/eid1711.110958. PMC 3310590. PMID 22099117.
- Kotar, S. L.; Gessler, J. E. (2014). Cholera: A Worldwide History. ISBN 978-0-7864-7242-0.
- Kudlick, Catherine Jean (1996). Cholera in Post-Revolutionary Paris: A Cultural History. Berkeley: University of California Press.
- Legros, Dominique (15 October 2018). "Global Cholera Epidemiology: Opportunities to Reduce the Burden of Cholera by 2030". The Journal of Infectious Diseases. 218 (suppl_3): S137–S140. doi:10.1093/infdis/jiy486. PMC 6207143. PMID 30184102.
- Mukharji, Projit Bihari (2012). "The 'Cholera Cloud' in the Nineteenth-Century 'British World': History of an Object-Without-an-Essence". Bulletin of the History of Medicine. 86 (3): 303–332. doi:10.1353/bhm.2012.0050. JSTOR 26305866. PMID 23241908. S2CID 207267413. INIST:26721136 แม่แบบ:Project MUSE.
- Rosenberg, Charles E. (1987). The Cholera Years: The United States in 1832, 1849, and 1866. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-72677-9.
- Roth, Mitchel (1997). "Cholera, Community, and Public Health in Gold Rush Sacramento and San Francisco". Pacific Historical Review. 66 (4): 527–551. doi:10.2307/3642236. JSTOR 3642236.
- Snowden, Frank M. Naples in the Time of Cholera, 1884-1911 (Cambridge UP, 1995).
- Vinten-Johansen, Peter, ed. Investigating Cholera in Broad Street: A History in Documents (Broadview Press, 2020). regarding 1850s in England.
- Vinten-Johansen, Peter, et al. Cholera, chloroform, and the science of medicine: a life of John Snow (2003).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Prevention and control of cholera outbreaks: WHO policy and recommendations
- Cholera—World Health Organization
- Cholera – Vibrio cholerae infection—Centers for Disease Control and Prevention
- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). 1911. pp. 262–267.
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |