อักษรทิเบต
หน้าตา
อักษรทิเบต | |
---|---|
มนต์ โอมมณีปัทเมฮุม | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | ประมาณ พ.ศ. 1193 (ค.ศ. 650)–ปัจจุบัน |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ภาษาทิเบต ภาษาซองคา ภาษาลาดัก ภาษาสิกขิม ภาษาบัลติ |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบลูก | อักษรลิมบู อักษรเลปชา อักษรพักส์-ปา |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Tibt (330), Tibetan |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Tibetan |
ช่วงยูนิโคด | U+0F00–U+0FFF |
ในช่วงพ.ศ. 1100-1200 พระเจ้าซงแจ็นกัมโป กษัตริย์ในทิเบตใต้ ส่งเทินมี สัมโภฏะ เสนาบดีคนหนึ่ง ไปอินเดีย เพื่อหาข้อมูลทางพุทธศาสนา สมโภตาได้ประดิษฐ์อักษรทิเบตขึ้น โดยใช้อักษรเทวนาครีเป็นแบบ และเขียนไวยากรณ์ภาษาทิเบต โดยใช้ไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตเป็นตัวอย่าง อักษรทิเบตนี้ ใช้เขียนคัมภีร์ทางพุทธศาสนา พจนานุกรมสันสกฤต-ทิเบตเล่มแรก มีเมื่อราวพ.ศ. 1400 การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ ที่นำมาจากประเทศจีน ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในระยะแรก ปัจจุบันยังคงใช้ในวัดเล็ก ๆ
วรรณคดีทิเบต มักเกี่ยวกับพุทธศาสนา รวมทั้งงานที่แปลจากภาษาสันสกฤต ภาษาจีน และงานดั้งเดิมของทิเบตเอง เช่นงานเกี่ยวกับศาสนาบอน ซึ่งนับถือกันอยู่ก่อน การเข้ามาของศาสนาพุทธ
ลักษณะ
[แก้]พยัญชนะมีพื้นเสียงเป็นอะ แยกแต่ละพยางค์ด้วยขีด กลุ่มพยัญชนะมีรูปพิเศษเกิดจากการเชื่อมต่อ
พยัญชนะ
[แก้]พยัญชนะทิเบตมี 30 ตัว ได้แก่
อักษรทิเบต | Wylie | ZYPY | IPA | ถอดเสียง |
---|---|---|---|---|
ཀ | ka | ga | /ˉka/ | ก |
ཁ | kha | ka | /ˉkʰa/ | ค |
ག | ga | ka | /ˊkʰa/ | ค |
ང | nga | nga | /ˊŋa/ | ง |
ཅ | ca | ja | /ˉt͡ɕa/ | จ |
ཆ | cha | qa | /ˉt͡ɕʰa/ | ช |
ཇ | ja | qa | /ˊt͡ɕʰa/ | ช |
྅ | nya | nya | /ˊɲa/ | ญ |
ཏ | ta | da | /ˉta/ | ต |
ཐ | tha | ta | /ˉtʰa/ | ท |
ད | da | ta | /ˊtʰa/ | ท |
ན | na | na | /ˊna/ | น |
པ | pa | ba | /ˉpa/ | ป |
ཕ | pha | pa | /ˉpʰa/ | พ |
བ | ba | pa | /ˊpʰa/ | พ |
མ | ma | ma | /ˊma/ | ม |
ཙ | tsa | za | /ˉt͡sa/ | จ |
ཚྪ | tsha | ca | /ˉt͡sʰa/ | ช |
ཛ | dza | ca | /ˊt͡sa/ | ช |
ཝ | wa | wa | /ˊwa/ | ว |
ཞ | zha | xa | /ˊɕa/ | ซ |
ཟ | za | sa | /ˊsa/ | ซ |
འ | 'a | a | /ˊa/ | อ |
ཡ | ya | ya | /ˊja/ | ย |
ར | ra | ra | /ˊɹa/ | ร |
ལ | la | la | /ˊla/ | ล |
ཤ | sha | xa | /ˉɕa/ | ซ |
ས | sa | sa | /ˉsa/ | ซ |
ཉ | ha | ha | /ˉha/ | ฮ |
ཨ | a | a | /ˉa/ | อ |
ใช้เขียน
[แก้]- ภาษาทิเบต ซึ่งอยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต มีผู้พูด 6 ล้านคนในจีน (ทิเบต ชิงไห่ กานซู่ เสฉวน ยูนนาน) อินเดีย (สิกขิม ลาดัก) ภูฏาน และเนปาล ในมองโกเลีย ภาษาทิเบตเป็นภาษาใช้ในพุทธศาสนา และยังมีการสอนอยู่
- ภาษาซองคา ภาษาประจำชาติของภูฏาน และมีผู้พูดในอินเดียและเนปาล อยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต
ยูนิโคด
[แก้]ทิเบต Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+0F0x | ༀ | ༁ | ༂ | ༃ | ༄ | ༅ | ༆ | ༇ | ༈ | ༉ | ༊ | ་ | ༌ | ། | ༎ | ༏ |
U+0F1x | ༐ | ༑ | ༒ | ༓ | ༔ | ༕ | ༖ | ༗ | ༘ | ༙ | ༚ | ༛ | ༜ | ༝ | ༞ | ༟ |
U+0F2x | ༠ | ༡ | ༢ | ༣ | ༤ | ༥ | ༦ | ༧ | ༨ | ༩ | ༪ | ༫ | ༬ | ༭ | ༮ | ༯ |
U+0F3x | ༰ | ༱ | ༲ | ༳ | ༴ | ༵ | ༶ | ༷ | ༸ | ༹ | ༺ | ༻ | ༼ | ༽ | ༾ | ༿ |
U+0F4x | ཀ | ཁ | ག | གྷ | ང | ཅ | ཆ | ཇ | ཉ | ཊ | ཋ | ཌ | ཌྷ | ཎ | ཏ | |
U+0F5x | ཐ | ད | དྷ | ན | པ | ཕ | བ | བྷ | མ | ཙ | ཚ | ཛ | ཛྷ | ཝ | ཞ | ཟ |
U+0F6x | འ | ཡ | ར | ལ | ཤ | ཥ | ས | ཧ | ཨ | ཀྵ | ཪ | ཫ | ཬ | |||
U+0F7x | ཱ | ི | ཱི | ུ | ཱུ | ྲྀ | ཷ | ླྀ | ཹ | ེ | ཻ | ོ | ཽ | ཾ | ཿ | |
U+0F8x | ྀ | ཱྀ | ྂ | ྃ | ྄ | ྅ | ྆ | ྇ | ྈ | ྉ | ྊ | ྋ | ྌ | ྍ | ྎ | ྏ |
U+0F9x | ྐ | ྑ | ྒ | ྒྷ | ྔ | ྕ | ྖ | ྗ | ྙ | ྚ | ྛ | ྜ | ྜྷ | ྞ | ྟ | |
U+0FAx | ྠ | ྡ | ྡྷ | ྣ | ྤ | ྥ | ྦ | ྦྷ | ྨ | ྩ | ྪ | ྫ | ྫྷ | ྭ | ྮ | ྯ |
U+0FBx | ྰ | ྱ | ྲ | ླ | ྴ | ྵ | ྶ | ྷ | ྸ | ྐྵ | ྺ | ྻ | ྼ | ྾ | ྿ | |
U+0FCx | ࿀ | ࿁ | ࿂ | ࿃ | ࿄ | ࿅ | ࿆ | ࿇ | ࿈ | ࿉ | ࿊ | ࿋ | ࿌ | ࿎ | ࿏ | |
U+0FDx | ࿐ | ࿑ | ࿒ | ࿓ | ࿔ | ࿕ | ࿖ | ࿗ | ࿘ | ࿙ | ࿚ | |||||
U+0FEx | ||||||||||||||||
U+0FFx |