โจ๊กเกอร์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2562)
โจ๊กเกอร์ | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | ท็อดด์ ฟิลลิปส์ |
เขียนบท |
|
สร้างจาก | โจ๊กเกอร์ โดย บ็อบ เคน บิลล์ ฟิงเกอร์ เจอร์รี โรบินสัน ตัวละคร โดย ดีซีคอมิกส์ |
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | ลอว์เรนซ์ เชอร์ |
ตัดต่อ | เจฟฟ์ กรอธ |
ดนตรีประกอบ | ฮิลเดอร์ กืดนาตอตตีร์ |
บริษัทผู้สร้าง |
|
ผู้จัดจำหน่าย | วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเจอส์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 122 นาที[1] |
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ทำเงิน | 1.079 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2][3] |
โจ๊กเกอร์ (อังกฤษ: Joker) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวระทึกขวัญจิตวิทยา ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 2019 กำกับการแสดงโดยท็อดด์ ฟิลลิปส์ ซึ่งนอกจากกำกับการแสดงแล้วเขายังเป็นผู้ร่วมเขียนบทในภาพยนตร์เรื่องนี้กับสก็อต ซิลเวอร์ นักเขียนบทภาพยนตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว โดยเนื้อเรื่องสร้างจากตัวละครในดีซีคอมิกส์ นำแสดงโดยวาคีน ฟีนิกซ์ ผู้รับบทเป็นอาร์เธอร์ เฟล็ก นักแสดงตลกผู้มีปัญหาทางจิตที่กลายมาเป็นอาชญากรของเมืองกอแทมนาม โจ๊กเกอร์ ร่วมด้วยรอเบิร์ต เดอ นิโร, ซาซี บีตซ์, ฟรานเชส คอนรอย, เบร็ต คัลเลน และเกล็น เฟลชเลอร์
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดยวอร์เนอร์บราเธอส์, ดีซีฟิล์ม ร่วมด้วยวิลเลจโรดโชว์ พิคเจอส์ และบรอน ครีเอทีฟ จากประเทศแคนาดา ฟิลลิปส์มีความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับโจ๊กเกอร์ในปี 2016 และเขียนบทร่วมกับสก็อตต์ ซิลเวอร์ตลอดปี 2017 ทั้งสองได้รับแรงบันดาลใจมาจากสังคมทศวรรษ 1970 และภาพยนตร์ของมาร์ติน สกอร์เซซี ผู้ซึ่งเดิมได้รับการทาบทามให้มาเป็นผู้อำนวยการสร้าง[4] ถึงแม้ว่าฟิลลิปส์และซิลเวอร์จะได้รับแนวคิดบางส่วนมาจาก Batman: The Killing Joke หนังสือการ์ตูนที่บอกเล่าที่มาของโจ๊กเกอร์ที่ตีพิมพ์ในปี 1988 แต่ฟิลลิปส์กล่าวว่าเขา “ไม่ได้อิงจากผลงานไหนเลย เพราะเราไม่ได้กำลังทำหนังโจ๊กเกอร์ แต่กำลังทำหนังของคนที่กลายเป็นโจ๊กเกอร์”[5] ฟีนิกซ์ได้รับติดต่อในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 และทดสอบบทในเดือนกรกฎาคม การถ่ายทำเริ่มระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม 2018 ที่นครนิวยอร์ก, นครเจอร์ซีย์ และนวร์ก[6]
โจ๊กเกอร์ เป็นภาพยนตร์แบทแมนภาคคนแสดงเรื่องแรกที่ได้รับการจัดให้อยู่ในภาพยนตร์ระดับอาร์ จากสมาคมภาพยนตร์อเมริกา เนื่องจากมีความรุนแรงและเนื้อหาที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ชม[7] ออกฉายรอบปฐมทัศน์ที่งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสครั้งที่ 76 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2019 และได้รับรางวัลสิงโตทองคำ ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาล ภาพยนตร์ออกฉายทั่วไปในสหรัฐในวันที่ 4 ตุลาคม 2019 และได้รับการตอบรับที่ก้ำกึ่ง ในขณะที่การแสดงของฟีนิกซ์ได้รับการชื่นชม[8] นักวิจารณ์บางส่วนแสดงความกังวลว่าเนื้อหาที่ดำมืดและรุนแรงอาจเป็นเหตุจูงใจให้เกิดเหตุอาชญากรรมในโลกความเป็นจริง[9] อย่างไรก็ตาม โจ๊กเกอร์ ประสบความสำเร็จทางรายได้โดยเป็นภาพยนตร์ระดับอาร์เรื่องแรกที่ทำรายได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ขึ้นอันดับภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในปี ค.ศ. 2019 เป็นอันดับที่ 6 และเป็นภาพยนตร์ระดับอาร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับ 1 แทนที่ เดดพูล 2[11] นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากหนังสือการ์ตูนที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 แทนที่ หน้ากากเทวดา[12]
เรื่องย่อ
[แก้]ปี ค.ศ. 1981 อาร์เธอร์ เฟล็กอาศัยอยู่กับเพนนี ผู้เป็นแม่ในอพาร์ตเมนต์เมืองกอแทมที่กำลังเสื่อมโทรมจากภาวะว่างงานและอาชญากรรม อาร์เธอร์ป่วยเป็นโรคหัวเราะไม่หยุดและมีความฝันเป็นนักแสดงตลก เขาเข้ารับการรักษาทางจิตที่สำนักงานสังคมสงเคราะห์ วันหนึ่ง อาร์เธอร์ถูกกลุ่มเด็กทำร้ายในตรอก แรนดอล เพื่อนร่วมงานจึงให้อาร์เธอร์ยืมปืนไว้ใช้ป้องกันตัว ด้านหนึ่ง อาร์เธอร์พบกับโซฟี แม่เลี้ยงเดี่ยวที่อาศัยอยู่ห้องใกล้ ๆ และเริ่มชักชวนให้เธอมาดูเขาแสดงตลกอยู่บ่อย ๆ
ต่อมาอาร์เธอร์เผลอทำปืนร่วงระหว่างทำการแสดงในโรงพยาบาลเด็ก เมื่อถูกถามถึงเจ้าของ แรนดอลโกหกว่าอาร์เธอร์ซื้อปืนนั้นไปจึงทำให้อาร์เธอร์ถูกไล่ออก ขณะนั่งรถไฟใต้ดินกลับห้อง อาร์เธอร์ถูกพนักงานเวย์นเอ็นเตอร์ไพรส์ 3 คนที่เมารุมทำร้าย เขาจึงยิงทั้งหมดตายเพื่อป้องกันตัว แต่เหตุการณ์นี้กลับเป็นชนวนให้เกิดการประท้วงความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนในเมือง โดยผู้ประท้วงสวมหน้ากากตัวตลกเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาอาร์เธอร์พบว่าสำนักงานสังคมสงเคราะห์จะถูกปิดเนื่องจากถูกตัดงบประมาณ ทำให้เขาจะไม่ได้รับการรักษาอีก
คืนหนึ่ง โซฟีมาดูอาร์เธอร์แสดงตลกแต่ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีเพราะอาร์เธอร์หัวเราะไม่หยุด คลิปวิดีโอตอนที่อาร์เธอร์แสดงถูกฉายและล้อเลียนในรายการทอล์กโชว์ของเมอร์เรย์ แฟรงคลิน ด้านเพนนีขอให้อาร์เธอร์ส่งจดหมายขอความช่วยเหลือด้านการเงินถึงโทมัส เวย์น แต่อาร์เธอร์แอบอ่านและพบว่าตนเป็นบุตรชายลับ ๆ ของโทมัสกับเพนนี ต่อมาตำรวจ 2 นายมาสอบถามเพนนีถึงเหตุฆาตกรรมในรถไฟใต้ดินที่อาร์เธอร์เกี่ยวข้อง ทำให้เธอล้มหมดสติและเส้นเลือดในสมองแตก อาร์เธอร์บุกไปที่คฤหาสน์เวย์นเพื่อถามความจริงจากโทมัส แต่พบเพียงบรูซ เวย์น บุตรชายของโทมัสกับมาร์ธา เวย์น
ต่อมาอาร์เธอร์ลอบเข้าไปถามเรื่องเพนนีกับโทมัสที่งานเลี้ยง แต่โทมัสกลับบอกว่าเพนนีป่วยทางจิตและไม่ใช่แม่แท้ ๆ ของอาร์เธอร์ อาร์เธอร์จึงไปหาประวัติเพนนีที่โรงพยาบาลอาร์คัม จนพบว่าตนเป็นบุตรบุญธรรมของเพนนี แต่มักถูกเพนนีทอดทิ้งและมักถูกแฟนของเพนนีทำร้ายจนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองตั้งแต่เด็ก อาร์เธอร์ที่ใจสลายไปหาเพนนีและฆ่าเธอ ก่อนจะกลับมาที่ห้องของโซฟี และพบว่าที่พบกันครั้งก่อน ๆ กับโซฟีนั้น เขาเห็นภาพหลอนไปเอง
ต่อมาอาร์เธอร์ได้รับเชิญให้มาออกรายการของเมอร์เรย์เนื่องจากคลิปของเขาได้รับความนิยม ระหว่างนั้น แรนดอลและแกรี อดีตเพื่อนร่วมงานมาเยี่ยมอาร์เธอร์ อาร์เธอร์แทงแรนดอลตาย แต่ไว้ชีวิตแกรี ขณะเดินทางไปที่สตูดิโอของเมอร์เรย์ อาร์เธอร์ถูกตำรวจ 2 นายที่เคยมาสอบถามเพนนีไล่ตาม เขาจึงแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้วงในรถไฟใต้ดินและอาศัยช่วงชุลมุนหลบหนีไปได้
ที่สตูดิโอ อาร์เธอร์ขอให้เมอร์เรย์แนะนำตัวเขาว่า “โจ๊กเกอร์” เมื่อออกมาพบผู้ชม อาร์เธอร์ประกาศว่าตนเป็นคนฆ่าชาย 3 คนในรถไฟใต้ดินก่อนจะยิงเมอร์เรย์จนตาย อาร์เธอร์ถูกจับกุมและพาตัวไปคุมขัง แต่ระหว่างที่รถตำรวจที่อาร์เธอร์นั่งมาแล่นผ่านย่านที่มีการชุมนุม รถตำรวจถูกชนและอาร์เธอร์ได้รับการช่วยเหลือ ก่อนจะได้รับการยกย่องจากกลุ่มผู้ประท้วง อีกด้านหนึ่งของการชุมนุม โทมัสและมาร์ธาถูกผู้ประท้วงยิงตาย ทิ้งให้บรูซกลายเป็นเด็กกำพร้า
ในที่สุด อาร์เธอร์ถูกตามจับตัวและคุมขังในโรงพยาบาล จิตแพทย์ถามอาร์เธอร์ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่เมื่อเห็นเขาหัวเราะคนเดียว แต่อาร์เธอร์ปฏิเสธจะตอบ ภาพยนตร์จบลงเมื่ออาร์เธอร์พยายามหลบหนีผู้ดูแลโดยทิ้งรอยเท้าที่เป็นรอยเลือดไว้
นักแสดง
[แก้]- วาคีน ฟีนิกซ์ รับบท อาร์เธอร์ เฟล็ก นักแสดงตลกตกอับผู้มีปัญหาทางจิต
- รอเบิร์ต เดอ นิโร รับบท เมอร์เรย์ แฟรงคลิน พิธีกรรายการทอล์กโชว์
- ซาซี บีตซ์ รับบท โซฟี ดูมอนด์ แม่เลี้ยงเดี่ยวและคนรักของอาร์เธอร์
- ฟรานเชส คอนรอย รับบท เพนนี เฟล็ก แม่ของอาร์เธอร์
- เบร็ต คัลเลน รับบท โทมัส เวย์น เศรษฐีเมืองกอแทม ผู้เตรียมลงสมัครนายกเทศมนตรีของเมือง
- เกล็น เฟลชเลอร์ รับบท แรนดอล เพื่อนร่วมงานของอาร์เธอร์
- ลีห์ กิลล์ รับบท แกรี เพื่อนร่วมงานของอาร์เธอร์
- ดันเต ปาเรรา-โอลสัน รับบท บรูซ เวย์น บุตรชายของโทมัสกับมาร์ธา เวย์น
รางวัล
[แก้]โจ๊กเกอร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ
- รางวัลออสการ์[13]
- รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Joaquin Phoenix)
- รางวัลออสการ์ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Hildur Guðnadóttir)
- สถาบันภาพยนตร์อเมริกัน - Top 10 Films of the Year (Joker)[14]
- บลูริบบินอะวอดส์ – Best Foreign Film[15]
- รางวัลโบกี - Joker[16]
- Bogey Award
- Bronze
- Silver
- Gold
- รางวัลแบฟตา[17]
- Best Actor in a Leading Role (Joaquin Phoenix)
- Best Original Score (Hildur Guðnadóttir)
- Best Casting (Shayna Markowitz)
- สมาคมผู้กำกับภาพบริติช - Feature Operators Award (Geoffrey Haley)[18]
- แคเมริเมจ - Lawrence Sher[19][20]
- Golden Frog
- Audience Award
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติคาปรีฮอลลีวูด - Best Actor (Joaquin Phoenix)[21]
- คลิโออะวอดส์ - Theatrical: Teaser (Joker)[22]
- คริติกส์ชอยส์มูฟวีอะวอดส์[23]
- Best Actor (Joaquin Phoenix)
- Best Score (Hildur Guðnadóttir)
- เยอรมันฟิล์มแอนด์มีเดียรีวิว - Seal of Approval "Highly Recommended" (Joker)[24]
- โกลด์เดอร์บีอะวอดส์[25]
- Best Actor (Joaquin Phoenix)
- Best Score (Hildur Guðnadóttir)
- โกลด์เดอร์บีเดเคดอะวอดส์ - Best Actor (Joaquin Phoenix)[26]
- รางวัลลูกโลกทองคำ[27][28]
- Best Actor – Motion Picture Drama (Joaquin Phoenix)
- Best Original Score (Hildur Guðnadóttir)
- โกลเดนชโมส์อะวอดส์[29]
- Biggest Surprise of the Year (Joker)
- Best Actor of the Year (Joaquin Phoenix)
- โกลเดนสกรีนอะวอดส์ - Golden Screen (Joker)[30]
- โกลเดนโทเมโทอะวอดส์ - Fan Favorite Actor (Joaquin Phoenix)[31]
- กิลด์ออฟมิวสิคซูเปอร์ไวเซอส์อะวอดส์ - Best Music Supervision for Trailers (Anny Colvin)[32]
- รางวัลภาพยนตร์โฮชิ – Best International Picture (Joker)[33]
- สมาคมนักวิจารณ์ฮอลลีวูด[34][35]
- Best Actor (Joaquin Phoenix)
- Best Original Score (Hildur Guðnadóttir)
- ฮอลลีวูดมิวสิกอินมีเดียอะวอดส์ - Best Score in a Feature Film (Hildur Guðnadóttir, ร่วมกับเรื่อง Ford v Ferrari)[36]
- ไอจีเอ็นอะวอดส์[37]
- People's Choice Winner (Joker)
- Best Lead Performer (Joaquin Phoenix)
- People's Choice Winner (Joaquin Phoenix)
- People's Choice Winner (Todd Phillips)
- สมาคมผู้กำกับภาพสากล - Maxwell Weinberg Publicist Showmanship Award (Joker)[38]
- รางวัลภาพยนตร์สถาบันญี่ปุ่น - Outstanding Foreign Language Film (Joker)[39]
- รางวัลคิเนมะจุนโป[40]
- Best Foreign Film (Joker)
- Best Foreign Film Director (Todd Phillips)
- Readers' Choice Award - Best Foreign Film (Joker)
- Readers' Choice Award - Best Foreign Film Director (Todd Phillips)
- สมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ลอนดอน – Actor of the Year (Joaquin Phoenix)[41]
- รางวัลภาพยนตร์ไมนิจิ – Joker[42]
- Foreign Film Best One Award
- Readers' Choice Award
- สมาคมช่างแต่งหน้าและช่างทำผม - Best Period and/or Character Make-Up (Nicki Ledermann, Tania Ribalow, Sunday Englis)[43]
- สถาบันภาพยนตร์แห่งชาติ - Best Performance in a Movie (Robert De Niro)[44]
- นิวยอร์กฟิล์มคริติกส์ออนไลน์[45]
- Top 10 Films of the Year (Joker)
- Best Actor (Joaquin Phoenix)
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปาล์มสปริงส์[46][47]
- Chairman’s Award (Joaquin Phoenix)
- Creative Impact in Directing Award (Todd Phillips)
- พีตา ออสแคตส์ – Best Actor (Joaquin Phoenix)[48]
- รอแบร์ตอะวอดส์ – Best English Language Film[49]
- รอนโดฮัตตันคลาสสิกฮอเรอร์อะวอดส์ - Best Film of 2019 (Joker)[50]
- สมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์แซนดีเอโก - Best Actor (Joaquin Phoenix, ร่วมกับเรื่อง Marriage Story)[51]
- แซเทลไลต์อะวอดส์[52]
- Best Adapted Screenplay (Todd Phillips, Scott Silver)
- Best Original Score (Hildur Guðnadóttir)
- รางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ - Outstanding Performance by a Male Actor in a Leading Role (Joaquin Phoenix)[53]
- โซไซเอตีออฟโอเปอเรติงแคเมราเมน - Camera Operator of the Year – Film (Geoff Haley)[54]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต - TIFF Tribute Actor Award (Joaquin Phoenix)[55]
- เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส[56][57]
- รางวัลสิงโตทองคำ
- Graffetta d'Oro (Joker)
- Premio Soundtrack Stars Award (Hildur Guðnadóttir)
- สมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์สตรี - Worst Screen Mom of the Year (Frances Conroy)[58]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Joker (2019)". British Board of Film Classification. September 24, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2019. สืบค้นเมื่อ October 13, 2019.
- ↑ "Joker". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2021. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
- ↑ "Joker (2019)". The Numbers. Nash Information Services, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2019. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
- ↑ Jr, Mike Fleming (August 22, 2017). "The Joker Origin Story On Deck: Todd Phillips, Scott Silver, Martin Scorsese Aboard WB/DC Film". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2017. สืบค้นเมื่อ August 23, 2017.
- ↑ Edwards, Chris (July 8, 2019). "Joker doesn't "follow anything" from the comics". Digital Spy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2019. สืบค้นเมื่อ July 10, 2019.
- ↑ Anderson, Jenna (December 3, 2018). "Joaquin Phoenix's 'Joker' Wraps Production". ComicBook.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2018. สืบค้นเมื่อ December 4, 2018.
- ↑ "'Joker' will be the first-ever R-rated live action 'Batman' movie". NME. June 17, 2019. สืบค้นเมื่อ October 5, 2019.
- ↑ Russell, Steve (September 2, 2019). "Joker: Jim Lee Reviews Todd Phillips' DC Film". CBR.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2019. สืบค้นเมื่อ September 3, 2019.
- ↑ Lang, Brent (September 5, 2019). "From 'Joker' Controversy to Oscar Contenders, 5 Burning Questions at the Toronto Film Festival". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2019. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
- ↑ Nolfi, Joey (November 15, 2019). "Joker becomes first R-rated movie to gross $1 billion worldwide". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ November 17, 2019.
- ↑ Yang, Rachel (October 25, 2019). "Joker is now the highest-grossing R-rated film of all time". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ November 4, 2019.
- ↑ Hughes, William (November 8, 2019). "Joker is now the most profitable comic book movie of all time". The A.V. Club. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-09. สืบค้นเมื่อ November 8, 2019.
- ↑ Pedersen, Erik (February 9, 2020). "Oscars: 'Parasite' Wins Best Picture – The Complete Winners List". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ February 10, 2020.
- ↑ Tangcay, Jazz (December 4, 2019). "AFI Awards: Top Films and TV Shows Include 'Joker,' 'Farewell,' 'Succession,' 'Watchmen'". Variety. สืบค้นเมื่อ December 4, 2019.
- ↑ "「翔んで埼玉」武内英樹がブルーリボン作品賞に「狐につままれた気持ち」". Natalie.mu. February 18, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2020. สืบค้นเมื่อ February 18, 2020.
- ↑ Schultze, Thomas (October 15, 2019). ""Joker" already visitor millionaire". Blickpunkt: Film. สืบค้นเมื่อ October 18, 2019.
- ↑ Hipes, Patrick (February 2, 2020). "BAFTA Awards: '1917' Takes Best Film And Leads Way With Seven Wins – The Complete Winners List". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ February 3, 2020.
- ↑ Geoffrey Haley (February 16, 2020). "BSC Awards Night 2020 .......and the Winners are". British Society of Cinematographers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2020. สืบค้นเมื่อ February 16, 2020.
- ↑ Giardina, Carolyn (October 21, 2019). "Camerimage Cinematography Festival Unveils Main Competition Lineup". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2019. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
- ↑ "Energacamerimage 2019 Winners!". Camerimage. November 16, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2019. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
- ↑ Hipes, Patrick (January 2, 2020). "The Irishman' Wins Best Picture At Capri, Hollywood Festival". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ January 7, 2020.
- ↑ Howard, Annie (November 21, 2019). "Clio Entertainment Awards 2019: 'Joker,' 'Us,' 'Game of Thrones' Among Top Winners". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ November 22, 2019.
- ↑ Ramos, Dino-Ray (January 12, 2020). "Critics' Choice Awards: 'Once Upon A Time In Hollywood' Wins Best Picture, Netflix And HBO Among Top Honorees – Full Winners List". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ January 13, 2020.
- ↑ "FBW-Pressetext". Deutsche Film- und Medienbewertung (FBW). March 12, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2020. สืบค้นเมื่อ March 12, 2020.
- ↑ Montgomery, Daniel (February 4, 2020). "2020 Gold Derby Film Awards: 'Parasite' wins 6 including Best Picture, Joaquin Phoenix and Lupita Nyong'o take lead prizes". Gold Derby Awards. สืบค้นเมื่อ February 5, 2020.
- ↑ Montgomery, Daniel (February 10, 2020). "'Parasite' sweeps Gold Derby Film Decade Awards (2010-2019), but 15 other films honored; Amy Adams triumphs as top performer". Gold Derby Awards. สืบค้นเมื่อ February 10, 2020.
- ↑ "2020 Golden Globe Nominations: The Complete List". Variety. December 9, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2019. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
- ↑ Stolworthy, Jacob (January 6, 2020). "Golden Globes 2020 winners: The full list". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2020. สืบค้นเมื่อ January 6, 2020.
- ↑ Shirey, Paul (February 7, 2020). "THE WINNERS OF THE 19TH ANNUAL GOLDEN SCHMOES ARE ANNOUNCED!". JoBlo.com. สืบค้นเมื่อ February 8, 2020.
- ↑ Howard (October 10, 2019). "Joker". Goldene-leinwand. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2019. สืบค้นเมื่อ October 10, 2019.
- ↑ RottenTomatoes (February 18, 2020). "FAN FAVORITE ACTORS 2019". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ February 18, 2020.
- ↑ Herman, James (February 7, 2020). "Guild of Music Supervisors Awards: Regina Spektor, 'Euphoria' Among Winners (Full List)". Variety. สืบค้นเมื่อ February 7, 2020.
- ↑ "Hochi Film Awards". Imdb. December 19, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2019. สืบค้นเมื่อ December 19, 2019.
- ↑ Sandoval, Michael (November 25, 2019). "Hollywood Critics Association Award Nominations Released". Muse TV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2021. สืบค้นเมื่อ November 26, 2019.
- ↑ "'1917' Wins Best Picture at 3rd Annual Hollywood Critics Association Awards". Variety. January 9, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2020. สืบค้นเมื่อ January 10, 2020.
- ↑ "2019 HMMA Winners". Hollywood Music in Media Awards. November 20, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2018. สืบค้นเมื่อ November 20, 2019.
- ↑ "Best Lead Performer in a Movie in 2019". IGN. December 20, 2019. สืบค้นเมื่อ January 8, 2020.
- ↑ Rizzo, Carita (February 7, 2020). "ICG Publicists Awards: 'Joker,' 'The Mandalorian' Among Winners". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ February 8, 2020.
- ↑ Schilling, Mark (March 6, 2020). "'Journalist' Named Best Picture at Guest-Free Japan Academy Awards, Held Amid Coronavirus Fears". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2020. สืบค้นเมื่อ March 6, 2020.
- ↑ "2019 Kinema Junpo Awards". japanesefilmfestival.net. February 19, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2020. สืบค้นเมื่อ February 19, 2020.
- ↑ Cline, Rich (December 17, 2019). "THE SOUVENIR LEADS NOMINEES FOR CRITICS' CIRCLE FILM AWARDS". London Film Critics' Circle. สืบค้นเมื่อ December 17, 2019.
- ↑ "日本映画大賞は「蜜蜂と遠雷」". Mainichi Shimbun. January 22, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2020. สืบค้นเมื่อ January 22, 2020.
- ↑ Bennett, Anita (January 11, 2020). "Make-Up & Hairstylists Awards: 'Bombshell', 'Fosse/Verdon', 'SNL' Lead Winners". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ January 12, 2020.
- ↑ Wakeling, Naomi (October 21, 2019). "Nominations for the 2nd annual National Film & TV Awards are announced". National Film Academy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-22. สืบค้นเมื่อ November 22, 2019.
- ↑ Benardello, Karen (December 6, 2019). "New York Film Critics Online Selects Top 10 Movies of 2019". Shockya. สืบค้นเมื่อ December 6, 2019.
- ↑ McNary, Dave (November 14, 2019). "Film News Roundup: Joaquin Phoenix Honored by Palm Springs Film Festival". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2019. สืบค้นเมื่อ November 15, 2019.
- ↑ Harris, Latesha (December 10, 2019). "Variety to Honor Todd Phillips at Palm Springs Film Festival". Variety. สืบค้นเมื่อ December 13, 2019.
- ↑ "Meet 2019's Most Animal-Friendly Films and Stars". PETA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-30.
- ↑ Dalton, Ben (January 26, 2020). "'Queen Of Hearts' dominates Denmark's 2020 Robert awards". Screendaily.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2020. สืบค้นเมื่อ January 26, 2020.
- ↑ "Here are the winners of the (GASP!) 18TH ANNUAL Rondo Hatton Classic Horror Awards". Rondo Hatton Classic Horror Award. April 6, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2020. สืบค้นเมื่อ April 6, 2020.
- ↑ "2019 San Diego Film Critics Society's Awards". San Diego Film Critics Society. December 9, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2019. สืบค้นเมื่อ December 9, 2019.
- ↑ "INTERNATIONAL PRESS ACADEMY THE 24TH ANNUAL SATELLITE AWARDS" (PDF). Satellite Awards. December 2, 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2019. สืบค้นเมื่อ December 3, 2019.
- ↑ Boon, John (January 19, 2020). "Joaquin Phoenix Pays Tribute to Heath Ledger After Winning 2020 SAG Award for 'Joker'". Entertainment Tonight (ET). สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
- ↑ Giardina, Carolyn (January 18, 2020). "'Joker' Tops SOC Camera Operators Awards". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ January 19, 2020.
- ↑ Nolfi, Joey (July 29, 2019). "Meryl Streep, Joaquin Phoenix win Toronto Film Festival's first Actor Awards". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ October 9, 2019.
- ↑ Anderson, Ariston (September 6, 2019). "Venice: Todd Phillips' 'Joker' Wins Golden Lion, Roman Polanski Wins Silver Lion". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 7, 2019. สืบค้นเมื่อ November 22, 2019.
- ↑ "Collateral Awards of the 76th Venice Film Festival". Venice Biennale. September 6, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 7, 2019. สืบค้นเมื่อ November 22, 2019.
- ↑ Neglia, Matt (December 9, 2019). "The 2019 Women Film Critics Circle (WFCC) Winners". Next Best Picture. สืบค้นเมื่อ December 11, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โจ๊กเกอร์
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ โจ๊กเกอร์
- โจ๊กเกอร์ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- โจ๊กเกอร์ ที่บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ
- โจ๊กเกอร์ ที่รอตเทนโทเมโทส์
- โจ๊กเกอร์ ในเมทาคริติก
- โจ๊กเกอร์ ที่สยามโซน
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2562
- Rotten Tomatoes template using name parameter
- ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ
- ภาพยนตร์อเมริกัน
- ภาพยนตร์อาชญากรรม
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในรัฐนิวยอร์ก
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในรัฐนิวเจอร์ซีย์
- ภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในโรงพยาบาลจิตเวช
- โจ๊กเกอร์
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับอาชญากรรม
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับฆาตกร
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย ท็อดด์ ฟิลลิปส์
- บทความเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์