สกุลชิมแปนซี
สกุลชิมแปนซี ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 4 ล้านปีก่อน-ปัจจุบัน | |
---|---|
ชิมแปนซี (Pan troglodytes) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์ใหญ่: | Hominoidea |
วงศ์: | Hominidae |
วงศ์ย่อย: | Homininae |
เผ่า: | Hominini |
เผ่าย่อย: | Panina |
สกุล: | Pan |
ชนิดต้นแบบ | |
Pan troglodytes Blumenbach, 1775 | |
ชนิด | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของสกุลชิมแปนซี (สีแดง คือที่อยู่ของโบโนโบ) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
สกุลชิมแปนซี (อังกฤษ: Chimpanzee, Bonobo, Chimp) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูง ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ในอันดับวานร เป็นลิงไม่มีหาง ใช้ชื่อสกุลว่า Pan
มีถิ่นที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลางระดับเส้นศูนย์สูตร ตัวผู้จะหนักราว 110 ปอนด์ มีส่วนสูงเฉลี่ย 5 ฟุต ส่วนตัวเมียหนักราว 88 ปอนด์และสูงเฉลี่ย 4 ฟุต สามารถปีนป่ายต้นไม้ได้เป็นอย่างดี แต่ชอบที่จะหากินและอาศัยอยู่บนพื้นดินมากกว่า ขนตามลำตัวสั้นสีน้ำตาลดำหรือเทาเข้ม แต่ที่มือและเท้าไม่มีขน รวมทั้งบริเวณใบหน้าและใบหู [2]
มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีดั้งจมูก ขากรรไกรค่อนข้างยื่นออกมา มีฟันกรามที่พัฒนาใช้การได้ดี มีปริมาตรสมองราว 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีโครโมโซมจำนวน 24 คู่[3] และมีดีเอ็นเอร่วมกับมนุษย์ถึงร้อยละ 99.4 เนื่องจากมีบรรพบุรุษร่วมกันมา แต่ได้แยกวิวัฒนาการออกจากกันเมื่อราว 5-6 ล้านปีก่อน[4]
มีพฤติกรรมกินพืชเป็นอาหารหลัก[5] โดยปกติเป็นสัตว์ที่รักสงบ แต่ก็มีบางครั้งที่ตัวผู้จะมีพฤติกรรมดุร้าย มักยกพวกเข้าโจมตีกัน และยังมีพฤติกรรมล่าลิงชนิดอื่น ได้แก่ ลิงโลกเก่ากินเป็นอาหารอีกด้วย[6] เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง ออกลูกครั้งละเพียง 1 ตัว อายุขัยโดยเฉลี่ย 40 ปี[7] เป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาด มีการแสดงออกทางอารมณ์คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด รวมทั้งกล้ามเนื้อและสรีระ ทั้งนี้เพราะระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์และชิมแปนซีนั้นคล้ายกันมาก แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันต่อหน่วยน้ำหนักแล้ว ชิมแปนซีมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่ามนุษย์ 2-3 เท่า[8] โดยมีการศึกษาพบว่า ชิมแปนซีมีความทรงจำดีเสียยิ่งกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก และจดจำคำศัพท์ของมนุษย์ได้ถึง 125 คำ[8] [9]
แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- ชิมแปนซี (Pan troglodytes) แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย
- โบโนโบ (Pan paniscus) มีขนาดเล็กลงมา หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า ชิมแปนซีแคระ[10]
โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านชิมแปนซี ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ เจน กูดดอลล์ นักวานรวิทยาหญิงชาวอเมริกัน ที่เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เริ่มต้นที่ประเทศอูกันดา [5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1985: OPINION 1368. THE GENERIC NAMES PAN AND PANTHERA (MAMMALIA, CARNIVORA): AVAILABLE AS FROM OKEN, 1816. Bulletin of zoological nomenclature, 42: 365-370. ISSN: 0007-5167 Internet Archive BHL BioStor [corrigendum in Bulletin of zoological nomenclature, 45: 304. (1988) Internet Archive BHL]
- ↑ หน้า 176, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ "ยีน-โครโมโซม-ดีเอ็นเอ( การพิสูจน์ความเป็นพ่อ-แม่-ลูก )". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
- ↑ ยกชั้นลิงชิมแปนซีพวกเดียวกับคนมีดีเอ็นเอร่วมกันเกือบ100%
- ↑ 5.0 5.1 "บทที่ 5 ไพรเมตกับบรรพบุรุษของมนุษย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-24. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
- ↑ อย่างโหด ชิมแปนซีกินลิง!
- ↑ หน้า 177, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ 8.0 8.1 [1]เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน “เรา” กับ “ลิงชิมป์” ต่างกันแค่ไหน? จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "ลูกชิมแปนซี ความจำดีกว่าคน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pan ที่วิกิสปีชีส์