ข้ามไปเนื้อหา

ชั้นไบวาลเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชั้นไบวาลเวีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคแคมเบรียน - ปัจจุบัน
ตัวอย่างของเปลือกหอยในชั้นไบวาลเวีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Bivalvia
Linnaeus, 1758
ชั้นย่อย
ชื่อพ้อง

ชั้นไบวาลเวีย (ชั้น: Bivalvia) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและน้ำจืด มีชื่อเรียกในภาษาสามัญว่า หอยฝาคู่ หรือ หอยสองฝา หรือ หอยเปลือกคู่ หรือ หอบกาบคู่

ความหมาย

[แก้]

ซึ่งคำว่า Bivalvia นั้น เป็นภาษาละติน มาจากคำว่า "bis" แปลว่า สอง สนธิกับคำว่า "valvae" ที่แปลว่า บานประตู

ลักษณะ

[แก้]

มีลักษณะทั่วไป คือ มีฝาสองข้างประกบเข้าด้วยกัน สามารถเปิดปิดได้ โดยมีโครงสร้างของจุดเชื่อมต่อคล้ายฟันสลักบานพับประตูที่ขั้วฝาทั้งสองที่ขบเกี่ยวกัน บางชนิดยึดติดเปลือกข้างหนึ่งไว้กับพื้นผิวที่แข็ง ใช้เหงือกกรองอาหารกินจากกระแสน้ำที่พัดผ่าน บางชนิดฝังตัวอยู่ใต้ทรายตลอดทั้งชีวิต โดยใช้เนื้อเท้าที่มีรูปร่างคล้ายใบขวานขุดแซะ เพื่อแทรกตัวลงไปใต้พื้นทราย โดยมีท่อน้ำดูดน้ำเข้าออกกรองอาหารกิน บางชนิดฝังตัวใต้ซากไม้ที่ผุพัง และบางชนิดก็ซุ่มซ่อนตัวเพื่อล่าเหยื่อ ขณะที่บางกลุ่มสามารถเปิดฝาปิดนี้อ้าและหุบเป็นจังหวะ เพื่อพ่นขับแรงดันน้ำจนเสมือนกับว่าได้ว่ายน้ำได้

ซึ่งมอลลัสคาที่อยู่ในชั้นนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ หอยนางรม, หอยแมลงภู่, หอยลาย, หอยมือเสือ, หอยคราง, หอยหลอด, หอยตลับ เป็นต้น ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นย่อยได้อีก 6 ชั้น (ดูในตาราง)

ปัจจุบันพบแล้วกว่า 30,000 ชนิด[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. คอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม ปัทมคันธิน หน้า 100-108 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 7 ปีที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2011

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]