ข้ามไปเนื้อหา

ญิฮาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ญิฮาด (อาหรับ: جهاد, อังกฤษ: Jihad) มาจากคำกริยา ญะฮะดะ ในภาษาอาหรับหมายถึง การดิ้นรนต่อสู้หรือความพยายาม ในทางศาสนาหมายถึง ความพยายามที่จะเพิ่มศรัทธาในพระเจ้ารวมทั้งการทำความดี การเผยแพร่ศาสนา ผู้ทำการญิฮาดเรียกว่ามุญาฮิด พหูพจน์เรียกว่ามุญาฮิดีน

ในทางศาสนาอิสลามแล้ว คำนี้ไม่ได้หมายถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ดังที่ผู้มิใช่มุสลิมเข้าใจ และเป็นศัพท์ทางศาสนาคำหนึ่งที่ถูกเข้าใจผิดบ่อยครั้ง คำว่าญิฮาดนี้มีปรากฏทั้งในอัลกุรอ่านและหะดิษต่างๆ

ความหมายของญิฮาด

[แก้]

ญิฮาดในอัลกุรอาน

[แก้]

ความหมายของญิฮาดในอัลกุรอานมีหลายความหมาย เช่น

  • การดิ้นรนของจิตวิญาณ เช่นในอัลกุรอาน (29:69)

    และบรรดาผู้ที่ต่อสู้ดิ้นรนในทางของเรา แน่นอนเราจะชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเขาสู่ทางของเรา

  • ความพยายามในการควบคุมอารมณ์ของตน และการช่วยเหลือผู้อื่น เช่น "ผู้มใดต่อสุ้ดิ้รน แท้จริงเขาย่อมต่อสู้ดิ้นรนเพื่อตัวเอง

โดยสรุปในอัลกุรอานให้มุสลิมทำญิฮาดเพื่อความโปรดปรานและได้ใกล้ชิดกับพระเจ้า มิใช่การต่อสู้กับผู้ที่มิใช่มุสลิมด้วยอาวุธหรือความรุนแรง

ญิฮาดในหะดิษ

[แก้]

ในหะดิษซึ่งเป็นการรวบรวมคำพูด โอวาทหรือการปฏิบัติตนของมุฮัมมัด ได้ให้ความหมายของญิฮาดในการต่อสู้เพื่อทำให้จิตใจของตนบริสุทธิ์ เช่นกล่าวว่า การรบในสมรภูมิเพื่อศาสนาเป็นญิฮาดเล็ก การต่อสู้กับความอ่อนแอของตนคือญิฮาดใหญ่ และญิฮาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การพูดความจริงต่อหน้าผู้กดขี่

ญิฮาดในคำอธิบายของนักวิชาการมุสลิม

[แก้]

นักวิชาการมุสลิมแบ่งญิฮาดเป็น 4 ประเภทคือ

  • ญิฮาดโดยหัวใจ คือการต่อสู้กับกิเลสตัณหาในตัวเอง
  • ญิฮาดโดยลิ้น คือการเผยแพร่ศาสนาโดยใช้วาจา
  • ญิฮาดโดยมือ คือการสนับสนุนความถูกต้องโดยใช้กำลังร่างกาย
  • ญิฮาดโดยอาวุธ คือการตอบโต้การกดขี่ข่มเหงด้วยกำลังอาวุธเมื่อไม่มีทางแก้ไขอย่างอื่น

ญิฮาดในยุคกลางของศาสนาอิสลาม

[แก้]
ธงที่ใช้ในกองทัพมุสลิมในยุคต้นของอิสลาม

ยุคกลางของศาสนาอิสลามอยู่ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 13-16 นักนิติศาสตร์อิสลามในยุคนั้นได้เพิ่มเติมการจัดประเภทดินแดนตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปในขณะนั้น ซึ่งดินแดนดังกล่าว ได้แก่

  • แดนสันติ คือดินแดนที่มีประชากรเกือบทั้งหมดเป็นมุสลิม มีการปกครองและใช้กฎหมายแบบอิสลาม
  • แดนพันธไมตรี เป็นดินแดนที่ประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่มุสลิม แต่มีสนธิสัญญาผูกพันอยู่กับรัฐอิสลาม
  • แดนข้าศึก คือดินแดนที่เป็นข้าศึกของอิสลาม มีลักษณะดังนี้
    • หมกมุ่นอยู่ในพฤติกรรมที่ผิดหลักศาสนา เช่น ค้าประเวณี การพนัน การดื่มสุรา
    • มีท่าทีโจมตีคุกคามรัฐอิสลาม หรือปิดกั้นทางสัญจรของรัฐอิสลาม
    • ทำให้มุสลิมที่อยู่ภายใต้การปกครองไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือบังคับให้มุสลิมเปลี่ยนแปลงศรัทธา

การจะกำหนดว่าดินแดนใดเป็นแดนข้าศึกจะต้องมีคุณสมบัติครบทั้งสามประการโดยชัดแจ้ง ไม่ใช่เพียงการสงสัยหรือสันนิษฐาน

เงื่อนไขของญิฮาด

[แก้]

การประกาศญิฮาดในทางศาสนาจะเกิดขึ้นเมื่อมีเงื่อนไขต่อไปนี้ครบสมบูรณ์

  • เฉพาะผู้นำสูงสุดของรัฐอิสลาม (เช่นเคาะลีฟะห์ในอดีต กาหลิบของมุสลิมซุนนี หรืออิมามของมุสลิมชีอะห์) เท่านั้นที่ประกาศญิฮาดได้
  • กระทำได้เมื่อการแก้ไขด้วยสันติวิธีทุกวิธีล้มเหลว
  • กระทำได้เมื่อเป็นการป้องกันตนเอง เมื่อถูกบังคับให้ล้มเลิกศรัทธา

ข้อกำหนดในการญิฮาด

[แก้]
  • ผู้ออกรบต้องมีเจตนาเพื่อปกป้องศาสนาอิสลามเท่านั้น
  • ต้องต่อสู้กับผู้เกี่ยวข้องในสงครามเท่านั้น
  • ห้ามทำร้าย เด็ก ผู้หญิงและคนชรา
  • ห้ามทำลายสัตว์เลี้ยงและพื้นที่ทำการเกษตร
  • ห้ามปล้นทรัพย์สิน
  • เมื่อศัตรูต้องการเจรจาหรือขอสันติภาพ มุสลิมต้องยอมตาม
  • ทรัพย์สินที่ได้จากสงครามต้องแบ่งปันตามหลักศาสนา

ญิฮาดในประวัติศาสตร์

[แก้]

ตั้งแต่การเกิดขึ้นของศาสนาอิสลาม มีการประกาศญิฮาดทั้งที่ได้รับการยอมรับและไม่ยอมรับจากมุสลิมดังนี้[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • ศราวุฒิ อารีย์. การก่อการร้ายในมุมมองของโลกอิสลาม. กทม. จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย. 2550 หน้า 34-46
  • สุรินทร์ หิรัญบูรณะ. สมรภูมิศรัทธา การใช้อาวุธต่อสู้ของมุสลิมเพื่อป้องกันศาสนาและตนเอง (ญิฮาด). กทม. มติชน. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]