ข้ามไปเนื้อหา

เกาะสุมาตรา

พิกัด: 00°N 102°E / 0°N 102°E / 0; 102
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะสุมาตรา
ภูมิประเทศของเกาะสุมาตรา
ที่ตั้งของเกาะสุมาตราในหมู่เกาะอินโดนีเซีย
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด00°N 102°E / 0°N 102°E / 0; 102
กลุ่มเกาะหมู่เกาะซุนดาใหญ่
พื้นที่475,807.63 ตารางกิโลเมตร (183,710.35 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด3,805 ม. (12484 ฟุต)
จุดสูงสุดเกอรินจี
การปกครอง
อินโดนีเซีย
จังหวัดอาเจะฮ์
สุมาตราเหนือ
สุมาตราตะวันตก
เรียว
จัมบี
เบิงกูลู
สุมาตราใต้
ลัมปุง
เมืองใหญ่สุดเมดัน (2,097,610 คน)
ประชากรศาสตร์
ประชากร59,977,300 (ประมาณกลาง ค.ศ. 2022)
ความหนาแน่น125.0/กม.2 (323.7/ตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์อาเจะฮ์, บาตัก, กาโย, ลัมปุง, มลายู, เมินตาไว, มีนังกาเบา, นียัซ, ปาเล็มบัง, เรอจัง, จีน, อินเดีย, ชวา, ซุนดา ฯลฯ
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา

สุมาตรา หรือ ซูมาเตอรา (อินโดนีเซีย: Sumatra)[a] เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะซุนดาของอินโดนีเซียตะวันตก ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 475,807.63 km2) ซึ่งรวมเกาะรอบข้างอย่างซีเมอลูเวอ, นียัซ, เมินตาไว, เอิงกาโน, หมู่เกาะรีเยา, หมู่เกาะบังกาเบอลีตุง และกลุ่มเกาะกรากาตัว

การทำลายป่าบนเกาะนี้ส่งผลให้เกิดหมอกควันหนาทึบปกคลุมประเทศเพื่อนบ้าน อย่างฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2556 ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างอินโดนีเซียกับประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์[2] นักวิชาการมักอธิบายถึงการตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวางและการทำลายสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในเกาะสุมาตราและส่วนอื่นของอินโดนีเซียเป็นอีโคไซด์ (ecocide)[3][4][5][6][7]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ในสมัยโบราณ เกาะสุมาตรามีชื่อเรียกในภาษาสันสกฤตว่า สุวรรณทวีป (Suwarnadwīpa; 'เกาะทอง') และสุวรรณภูมิ (Suwarnabhūmi; 'ดินแดนทอง') ทั้งนี้เพราะมีการพบทองคำบนที่ราบสูงของเกาะแห่งนี้[8] ส่วนรูปปัจจุบันของ "Sumatra" แบบแรกสุดปรากฏขึ้นใน ค.ศ. 1017 เมื่อกษัตริย์ท้องถิ่น ฮาจีซูมาตราบูมี ("กษัตริย์แห่งดินแดนสุมาตรา")[9]ส่งทูตไปจีน ส่วนนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับระบุถึงเกาะนี้เป็น ลัมรี ลามูรี ลัมบรี และรัมนี (Lamri, Lamuri, Lambri หรือ Ramni) ในคริสต์ศตวรรษที่ 10-13 โดยหมายถึงอาณาจักรที่อยู่ใกล้กับบันดาร์อาเจะฮ์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดแรกที่พ่อค้าที่เดินเรือมักแวะมาขึ้นฝั่ง เกาะนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ อันดาลัซ (Andalas)[10] หรือ เกาะเปอร์จา (Percha Island)[11]

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 มาร์โก โปโลกล่าวถึงอาณาจักรนี้เป็น Samara ในขณะที่ Odoric of Pordenone นักเดินทางชาวอิตาลีร่วมสมัยของเขา ใช้รูปเขียน Sumoltra ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 รูป "Sumatra" กลายเป็นที่นิยมในต่างประเทศ เนื่องจากราชอาณาจักรซามูเดอราปาไซกับรัฐสุลต่านอาเจะฮ์ในยุคหลัง เรืองอำนาจ[12][13]

นับตั้งแต่นั้นมา นักเขียนชาวยุโรปยุคหลังส่วนใหญ่เขียนชื่อเกาะในรูป Sumatra หรือรูปคล้ายกัน[14][15]

ประชากร

[แก้]
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1971 20,808,148—    
1980 28,016,160+34.6%
1990 36,506,703+30.3%
1995 40,830,334+11.8%
2000 42,616,164+4.4%
2005 45,839,041+7.6%
2010 50,613,947+10.4%
2015 55,198,752+9.1%
2020 58,557,211+6.1%
2022 59,977,300+2.4%
ข้อมูล:[16][17]

เกาะสุมาตราไม่ได้มีประชากรหนาแน่นเป็นพิเศษ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 126 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมแล้วมีประมาณ 59,977,300 คน (รายงานจากจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงปลาง ค.ศ. 2022)[18] ถึงกระนั้น เนื่องด้วยขนาดของเกาะ ทำให้เกาะสุมาตราเป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของโลก[19]

หญิงชาวมีนังกาเบาถือถาดอาหารไปในงานพิธี
หญิงชาวมีนังกาเบาถือถาดอาหารไปในงานพิธี 
บ้านดั้งเดิมที่นียัซ จังหวัดสุมาตราเหนือ
บ้านดั้งเดิมที่นียัซ จังหวัดสุมาตราเหนือ 

ภูมิศาสตร์

[แก้]

แกนที่ยาวที่สุดของเกาะอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง พื้นที่ด้านในของเกาะแบ่งเป็น 2 เขตทางภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ คือ เทือกเขาบารีซัน (Barisan Mountains) ทางตะวันตกและพื้นที่ลุ่มทางตะวันออก

ทางตะวันออกเฉียงใต้คือเกาะชวา แบ่งด้วยช่องแคบซุนดา ทางเหนือคือคาบสมุทรมลายู แบ่งด้วยช่องแคบมะละกา ทางตะวันออกคือเกาะบอร์เนียว แบ่งด้วยช่องแคบการีมาตา (Karimata Strait) ทางตะวันตกของเกาะคือมหาสมุทรอินเดีย

สันหลังของเกาะคือเทือกเขาบารีซัน ภูเขาไฟในภูมิภาคนี้ทำให้เกาะนี้มีทั้งพื้นดินอุดมสมบูรณ์และทัศนียภาพอันสวยงามเช่น รอบ ๆ ทะเลสาบโตบา (Lake Toba) นอกจากนี้ ยังมีแร่ถ่านหินและทองคำด้วย

ทางตะวันออก แม่น้ำใหญ่พัดพาเอาตะกอนดินจากภูเขา ทำให้เกิดลุ่มกว้างขวาง พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการเกษตร อย่างไรก็ดี พื้นที่นี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่ออินโดนีเซียเป็นอย่างมาก สุมาตราผลิตน้ำมันทั้งจากบนดินและใต้ดิน ("from above the soil and underneath") กล่าวคือ ผลิตทั้งน้ำมันปาล์มและปิโตรเลียม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของสุมาตราเคยปกคลุมด้วยป่าชื้นเขตร้อน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงอุรังอุตัง สมเสร็จ และ เสือสุมาตรา และพืชพรรณที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น แรฟเฟิลเซีย (Rafflesia) อย่างไรก็ดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ร่วมกับการคอร์รัปชันและการทำไม้ผิดกฎหมาย ทำให้มีพื้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ พื้นที่อนุรักษ์ยังถูกทำลายด้วย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กามุซเบอซาร์บาฮาซาอินโดเนซียาระบุว่า Sumatra เป็นรูปสะกดที่ถูกต้องในภาษาอินโดนีเซีย[1] แต่นิยมสะกดในภาษาอินโดนีเซียว่า Sumatera
  1. "Hasil Pencarian – KBBI Daring" [Entry for "Sumatra" in the online version of the Kamus Besar Bahasa Indonesia]. kbbi.kemdikbud.go.id (ภาษาอินโดนีเซีย). Ministry of Education, Culture, Research, and Technology.
  2. Shadbolt, Peter (21 June 2013). "Singapore Chokes on Haze as Sumatran Forest Fires Rage". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2017. สืบค้นเมื่อ 7 May 2017.
  3. "Forensic Architecture". forensic-architecture.org. สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  4. "Explainer: What is ecocide?". Eco-Business (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  5. Aida, Melly; Tahar, Abdul Muthalib; Davey, Orima (2023), Perdana, Ryzal; Putrawan, Gede Eka; Saputra, Bayu; Septiawan, Trio Yuda (บ.ก.), "Ecocide in the International Law: Integration Between Environmental Rights and International Crime and Its Implementation in Indonesia", Proceedings of the 3rd Universitas Lampung International Conference on Social Sciences (ULICoSS 2022) (ภาษาอังกฤษ), Paris: Atlantis Press SARL, vol. 740, pp. 572–584, doi:10.2991/978-2-38476-046-6_57, ISBN 978-2-38476-045-9, สืบค้นเมื่อ 2023-07-05
  6. Alberro, Heather; Daniele, Luigi (2021-06-29). "Ecocide: why establishing a new international crime would be a step towards interspecies justice". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  7. Setiyono, Joko; Natalis, Aga (2021-12-30). "Ecocides as a Serious Human Rights Violation: A Study on the Case of River Pollution by the Palm Oil Industry in Indonesia". International Journal of Sustainable Development and Planning (ภาษาอังกฤษ). 16 (8): 1465–1471. doi:10.18280/ijsdp.160807. ISSN 1743-7601.
  8. Drakard, Jane (1999). A Kingdom of Words: Language and Power in Sumatra. Oxford University Press. ISBN 983-56-0035-X.
  9. Munoz, Paul Michel (2006). Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula (ภาษาอังกฤษ). Continental Sales, Incorporated. ISBN 978-981-4155-67-0.
  10. Marsden, William (1783). The History of Sumatra. Dutch: Longman. p. 5.
  11. Cribb, Robert (2013). Historical Atlas of Indonesia. Routledge. p. 249.
  12. Sneddon, James N. (2003). The Indonesian language: its history and role in modern society. UNSW Press. p. 65. ISBN 9780868405988. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
  13. Macdonell, Arthur Anthony (1924). A Practical Sanskrit Dictionary with Transliteration, Accentuation, and Etymological Analysis. Motilal Banarsidass Publications. p. 347. ISBN 9788120820005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
  14. Sir Henry Yule, บ.ก. (1866). Cathay and the Way Thither: Being a Collection of Medieval Notices of China, Issue 36. pp. 86–87. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2017. สืบค้นเมื่อ 21 February 2017.
  15. Marsden, William (1811). The History of Sumatra: Containing an Account of the Government, Laws, Customs and Manners of the Native Inhabitants, with a Description of the Natural Productions, and a Relation of the Ancient Political State of That Island. pp. 4–10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2017. สืบค้นเมื่อ 21 February 2017.
  16. "Penduduk Indonesia menurut Provinsi 1971, 1980, 1990, 1995, 2000 - 2023" [Indonesian Population by Provinces 1971, 1980, 1990, 1995, 2000 and 2010]. Badan Pusat Statistik (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2013. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
  17. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
  18. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
  19. "Population Statistics". GeoHive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2012. สืบค้นเมื่อ 25 July 2012.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]